วันอังคารที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2567

ทุเรียนทำให้กาแฟแพง

20 ก.ย. 67
ทุเรียน ทำไมถึงทำให้ กาแฟ แพงขึ้น จากผลไม้กลิ่นแรง สู่วิกฤตราคากาแฟโลก

ทุเรียน ทำไมถึงทำให้ กาแฟ แพงขึ้น จากผลไม้กลิ่นแรง สู่วิกฤตราคากาแฟโลก

ทุเรียน ทำไมถึงทำให้ กาแฟ แพงขึ้น จากผลไม้กลิ่นแรง สู่วิกฤตราคากาแฟโลก

 

จากรายงานของทาง BBC ระบุว่า เคยสงสัยไหมว่า กาแฟแก้วนึงจะแพงได้ถึงขนาดไหน? ในลอนดอนราคาพุ่งไปถึงแก้วละ 5 ปอนด์ (ราว 218 บาท) หรือในนิวยอร์กก็ปาเข้าไป 7 ดอลลาร์แล้ว (ราว 232 บาท) ซึ่งราคานี้หลายคนก็คงส่ายหัว บอกว่าเกินจะจ่ายไหว แต่รู้ไหมว่า เรากำลังจะเจอกับสถานการณ์แบบนี้จริงๆ ไม่ใช่แค่ฝันร้าย เพราะตอนนี้หลายปัจจัยทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมในประเทศผู้ผลิตกาแฟรายใหญ่ของโลก กำลังก่อตัวเป็น "พายุลูกใหญ่" ที่พร้อมจะซัดราคาให้กระฉูดขึ้นไปอีก

นักวิเคราะห์ จูดี เกนส์ บอกว่า ตอนนี้ราคาเมล็ดกาแฟดิบที่ขายกันในตลาดโลกพุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ ผู้เชี่ยวชาญมองว่าเป็นเพราะหลายสาเหตุ ทั้งปัญหาเรื่องผลผลิต ตลาดผันผวน สต็อกกาแฟร่อยหรอ และที่พีคสุดคือ "ผลไม้กลิ่นแรงที่สุดในโลก"


พอเมล็ดกาแฟขาดตลาด คนก็แห่ไปซื้อจากเวียดนามแทน ซึ่งเป็นผู้ผลิตเมล็ดกาแฟโรบัสต้าเจ้าใหญ่ ที่ปกติจะเอาไปทำกาแฟสำเร็จรูป แต่ปรากฏว่า เกษตรกรที่เวียดนามก็เจอภัยแล้งหนักสุดในรอบเกือบ 10 ปี

วิล ฟริธ ที่ปรึกษาด้านกาแฟในโฮจิมินห์ซิตี้ บอกว่า สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปส่งผลกระทบโดยตรงต่อการเจริญเติบโตของต้นกาแฟ ทำให้ผลผลิตเมล็ดกาแฟลดลง เกษตรกรเวียดนามเลยตัดสินใจหันไปปลูกทุเรียน ผลไม้สีเหลืองกลิ่นแรงสุดๆ แทน


ทุเรียน ทำไมถึงทำให้ กาแฟ แพงขึ้น จากผลไม้กลิ่นแรง สู่วิกฤตราคากาแฟโลก

ทุเรียน ผลไม้ต้องห้ามที่ขึ้นชื่อเรื่องกลิ่นฉุนรุนแรง จนถูกห้ามนำขึ้นระบบขนส่งสาธารณะในหลายประเทศ ทั้งไทย ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และฮ่องกง กลับกลายเป็นที่นิยมอย่างสูงในจีน เกษตรกรเวียดนามจึงฉวยโอกาสนี้โค่นต้นกาแฟทิ้ง แล้วหันมาปลูกทุเรียนกันอย่างแพร่หลาย เพื่อแสวงหาผลกำไรจากตลาดใหม่ที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว

ส่วนแบ่งตลาดทุเรียนเวียดนามในจีนเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวระหว่างปี 2023 ถึง 2024 มีการประเมินว่าทุเรียนสร้างผลกำไรได้มากกว่ากาแฟถึง 5 เท่า! คุณ Frith กล่าวว่า "เกษตรกรเวียดนามมีประวัติการปรับตัวตามราคาตลาดอย่างรวดเร็ว เมื่อเห็นว่าสินค้าใดขายดีก็จะหันไปปลูกพืชชนิดนั้นจำนวนมาก จนท้ายที่สุดก็ผลิตออกมาล้นตลาด"

เมื่อทุเรียนจากเวียดนามทะลักเข้าสู่ตลาดจีน การส่งออกกาแฟโรบัสต้าในเดือนมิถุนายนลดลงถึง 50% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ปริมาณสต็อกกาแฟก็เหลือน้อยลงอย่างมาก ตามรายงานขององค์กรกาแฟระหว่างประเทศ

แม้จะมีผู้ส่งออกจากโคลอมเบีย เอธิโอเปีย เปรู และยูกันดา เข้ามาช่วยเติมเต็ม แต่ก็ยังไม่สามารถผลิตได้เพียงพอต่อความต้องการของตลาด คุณ Ganes อธิบายว่า "ในช่วงเวลาที่ความต้องการกาแฟโรบัสต้ากำลังเพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก กลับเป็นช่วงที่ปริมาณกาแฟในตลาดกำลังลดลงอย่างมาก"

advertisement

ผลที่ตามมาคือ ขณะนี้ราคาเมล็ดกาแฟโรบัสต้าและอาราบิก้าในตลาดสินค้าโภคภัณฑ์พุ่งสูงขึ้นเกือบจะทำลายสถิติเดิม

วิกฤตราคาในถ้วยกาแฟ เศรษฐกิจโลกกำลังชงกาแฟของคุณให้แพงขึ้นหรือไม่?

ราคาเมล็ดกาแฟในตลาดโลกกำลังผันผวนอย่างมาก และคำถามที่ผู้บริโภคกาแฟทั่วโลกกำลังตั้งคำถามคือ ภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้จะส่งผลให้ราคาเครื่องดื่มแก้วโปรดของพวกเขาพุ่งสูงขึ้นหรือไม่? แม้ว่าคำตอบจะยังไม่ชัดเจน แต่ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมกาแฟหลายท่านได้เริ่มส่งสัญญาณเตือนถึงความเป็นไปได้นี้

พอล อาร์มสตรอง เจ้าของโรงคั่วกาแฟ Carrara Coffee Roasters ในสหราชอาณาจักร คาดการณ์ว่าราคาอาจสูงถึง 5 ปอนด์ต่อแก้ว "สถานการณ์ปัจจุบันเปรียบเสมือนพายุลูกใหญ่ที่อุตสาหกรรมกาแฟต้องเผชิญ" เขากล่าว อาร์มสตรองเพิ่งปรับขึ้นราคาเมล็ดกาแฟคั่ว แต่ก็ยังไม่สามารถชดเชยต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

วิล ฟริธ ที่ปรึกษาด้านกาแฟในเวียดนาม ชี้ให้เห็นว่า กาแฟที่จำหน่ายในปริมาณมาก เช่น กาแฟสำเร็จรูปและกาแฟในซูเปอร์มาร์เก็ต จะได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์นี้มากที่สุด อย่างไรก็ตาม ราคาเมล็ดกาแฟที่สูงขึ้นไม่ได้แปลว่าราคาขายปลีกจะต้องสูงขึ้นเสมอไป

ด้าน เฟลิเป้ บาร์เร็ตโต โครเช่ ซีอีโอของ FAF Coffees ในบราซิล กล่าวว่า ผู้บริโภคกำลังรู้สึกถึงผลกระทบจากราคาที่สูงขึ้น แต่ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากภาวะเงินเฟ้อ ไม่ใช่ราคาเมล็ดกาแฟโดยตรง ฝั่ง เจฟฟ์ สมิธ จากบริษัทที่ปรึกษา Allegra Strategies ยืนยันว่า ต้นทุนเมล็ดกาแฟคิดเป็นเพียง 10% ของราคาขายปลีก "กาแฟยังคงมีราคาที่เข้าถึงได้เมื่อเทียบกับสินค้าฟุ่มเฟือยอื่นๆ หากคุณชงดื่มเองที่บ้าน" ข่าวดีคือ ยังมีความหวังว่าราคาจะปรับตัวลดลงในอนาคต

อนาคตที่ไม่แน่นอนของกาแฟ ภัยคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ทุเรียน ทำไมถึงทำให้ กาแฟ แพงขึ้น จากผลไม้กลิ่นแรง สู่วิกฤตราคากาแฟโลก

แม้ว่าราคาทุเรียนที่พุ่งสูงขึ้นจะเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อราคาตลาดกาแฟในปัจจุบัน แต่ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมกาแฟกำลังให้ความสำคัญกับภัยคุกคามที่รุนแรงและมีผลกระทบในระยะยาวมากกว่า นั่นคือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

นายเฟลิเป้ บาร์เร็ตโต โครเช่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ FAF Coffees ในประเทศบราซิล ซึ่งเป็นผู้ผลิตกาแฟในปริมาณการปลูก 1 ใน 3 ของกาแฟทั่วโลก ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของฤดูเก็บเกี่ยวที่จะมาถึงในฤดูใบไม้ผลินี้ หากปริมาณน้ำฝนไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ ผลผลิตกาแฟอาจลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งจะส่งผลให้ราคาตลาดกาแฟทั่วโลกผันผวนอย่างรุนแรง

ผลการวิจัยในปี 2022 ชี้ให้เห็นว่า แม้จะมีการดำเนินมาตรการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างเข้มงวด พื้นที่เพาะปลูกกาแฟที่เหมาะสมทั่วโลกอาจลดลงถึง 50% ภายในปี 2050 ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่น่ากังวลอย่างยิ่งสำหรับอุตสาหกรรมกาแฟ

เพื่อรับมือกับวิกฤตการณ์นี้ นายโครเช่เสนอให้มีการจัดเก็บ "พรีเมียมสีเขียว" ซึ่งเป็นภาษีเพิ่มเติมเล็กน้อยจากราคาขายกาแฟ เพื่อนำเงินที่ได้ไปสนับสนุนเกษตรกรในการลงทุนด้านการเกษตรที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ทุเรียนฟีเวอร์ ผลกระทบที่ไม่คาดคิดต่อตลาดกาแฟโลก

จากเรื่องราวทั้งหมดนี้ เราได้เห็นว่าราคาของกาแฟแก้วโปรดของเราไม่ได้ขึ้นอยู่กับแค่เมล็ดกาแฟเพียงอย่างเดียว แต่ยังเชื่อมโยงกับปัจจัยต่างๆ ทั้งสภาพอากาศ ภัยธรรมชาติ เศรษฐกิจโลก และแม้กระทั่งความนิยมของผลไม้ชนิดอื่นอย่างทุเรียน

วิกฤตการณ์ราคาเมล็ดกาแฟที่เกิดขึ้นในปัจจุบันเป็นเครื่องเตือนใจว่า เราไม่ควรมองข้ามความเชื่อมโยงอันซับซ้อนของระบบอาหารโลก และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยในส่วนใดส่วนหนึ่งของระบบ

ในขณะที่เรากำลังเพลิดเพลินกับกาแฟรสชาติเยี่ยมในวันนี้ อย่าลืมนึกถึงความท้าทายที่อุตสาหกรรมกาแฟกำลังเผชิญ และร่วมกันสนับสนุนแนวทางการผลิตที่ยั่งยืน เพื่อให้เรายังคงมีกาแฟอร่อยๆ ดื่มกันต่อไปในอนาคต

ที่มา BBC

วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2567

    การหยุดผลิตของ รถ ev ทั่วโลก ไม่ใช่คำตอบว่า รถ ev จะหายไป รถไฟฟ้าคือคำตอบ ที่ถูกที่ถูกเวลาแล้ว ส่วนตัวผมว่า มาช้าไปด้วยซ้ำ คนบนโลกใบนี้ ถูกให้ใช้รถน้ำมัน เผาทรัพยากรทิ้ง และเปลี่ยนสภาพขึ้นไปทำลายอากาศจน โลกใบนี้จะไม่เหลือ อะไรแล้วแม้แต่อากาศก็ยังถูกทำลายไปขนาดนี้ แต่แปลกมากๆที่ ดวงอาทิตย์ส่งพลังงานมาให้เราใช้ฟรีๆ มาเป็นล้านๆปี เรากลับไม่เลือกเอามาใช้ก่อน  
  ถามว่าทำไม?ไปขุดดินเอาน้ำมันมาใช้ก่อน แล้วปล่อยแสงแดด ให้มันทิ้งเปล่าไปเป็นล้านๆปีมันง่ายกว่างัย.!! เพราะความชุ่ย ความมักง่ายของ มนุษย์ งัยครับ  คว้าเอาที่ฟรี และง่ายจากน้ำมัน ก่อน ที่ฟรีแต่ยากกับแสงแดด เราลองย้อนไปถึงอดีต ที่เครื่องยนต์น้ำมันถูกสร้างขึ้นพร้อมๆกับ รถไฟฟ้า แต่รถน้ำมันถูกพัฒนาต่อ เพราะเอาน้ำมันมาใช้ง่ายกว่า แสงแดดที่ต้องมาสร้างแบต ตอนนั้นอ้างกันว่า แบตเก็บไฟได้น้อย น้ำหนักมาก ถ้าเจ้าคนคิดค้นเรื่องนี้ มันมีความรับผิดชอบ และคิดดีๆ ว่ารถไฟฟ้า มันดีกว่ารถน้ำมันแต่ทำยากกว่าก็จริง แต่ให้โทษกับโลกน้อยกว่ารถน้ำมัน ตัดใจไม่ยอมพัฒนารถน้ำมัน แต่อดทนพัฒนารถไฟฟ้าต่อ และคนใช้ก็ใช้รถไฟฟ้าในแบบของมันในตอนนั้น แบบว่า กอดคอกันไปทั้งผู้พัฒนา ผู้ผลิต และผู้ใช้ โดยที่ผู้ใช้ก็ไม่รู้หรอกว่า ถ้ามีรถน้ำมันให้ใช้ มันจะสะดวกกว่า ถูกกว่า เพราะมันไม่มีมาให้เปรียบเทียบนั่นเอง
  ถ้าที่ผมพูดมาเกิดขึ้นจริงในอดีต ทุกวันนี้ อากาศจะถูกทำลายไปขนาดนี้ไหม? น้ำมันดิบที่เก็บเอาไว้ใต้ดินมาเป็นล้านๆปี จะถูกขุดขึ้นมา ทำลายทุกอย่างบนโลกใบนี้ไหม? ทั้งอากาศ และขยะพาสติดที่เต็มไปบนโลกทั้งใบ ..!! อเมริกาจะฉวยโอกาส เอาน้ำมันมาเล่นแร่แปรธาตุ พิมพ์แบ็งดอลล่าให้ตัวเองเอาเปรียบ สกุลเงินอื่นจนตัวเองรวยมหาศาล และเอาความรวยจากการเอาเปรียบนี้ ไปทำลายประเทศอื่นได้ขนาดนี้ไหม? 
  ผมเชื่อ 100%  ว่า ถ้าเมื่อย้อนอดีตไป นักพัฒนาทุกคนยินยอมพร้อมใจกัน พัฒนารถไฟฟ้า และแบตเตอรี่ และยอมทิ้ง ความง่าย แต่ทำลายมากกว่ากับรถน้ำมัน ป่านนี้ ระบบเก็บพลังงานแบตเตอรี่ อาจจะถูกมากๆ และเบามากพอ และเก็บไฟได้มากมาย  และพวกเราเหล่าคนใช้รถไฟฟ้า คงไม่ต้อง เครียดและจ่ายเงินมากมากกับรถน้ำมัน ที่ปัญหาจุกจิก เสียหายง่าย และต้องจ่ายในราคาแพงกับอะไหล่แต่ละชิ้น (รถน้ำมันมีชิ้นส่วนเป็นหมื่นชิ้น ที่ทำงานภายใต้ความร้อนและแรงดันมากแค่ไหน แรงสั่นสะเทือนมากแค่ไหนเวลามันเดินเครื่อง เครื่องมันถึงพังเร็ว เสียง่ายจุกจิกงัย แต่รถไฟฟ้า มีอะไหล่อยู่กี่ชิ้น ? แต่ละชิ้นซ่อมง่ายแค่ไหน? มอเตอร์งี้ (เด็กจบ ป.4 ยังพันมอเตอร์เป็น ส่วนแบตฯ เสียก็เปลี่ยนๆ) อุปกรณ์อื่นๆอีกไม่กี่ตัว แถมเวลาเดินเครื่อง ไม่มีความร้อน ไม่มีแรงดัน นิ่งเงียบไม่สั่นสะเทือน ..มันดีกว่ากันกี่เรื่อง??
    ปัญหาเดียวที่มีกัย รถ ev  คือ..??? เพราะมันพัฒนาช้าแต่เร่งมันมากงัย..!!  ระบบชาร์จ และแบตเตอรี่ มันถึงไม่ทันใจ คนใช้ (ขนาดใช้ทุกทรัพยากรที่มี เร่งพัฒนากันเร็วที่สุดแล้วนะ ก็ยังไม่ทันใจ คนใช้) เขาถึงต้องยอมถอยหลังลงมาด้วยการ หยุด ผลิต ev 100%ไปก่อน แต่ความจริงคือ รถไฟฟ้าจะต้องถูกใช้ต่อไป เพราะรถน้ำมันไม่มีทางที่จะกลับมาผลิตอีก ถ้าใครขืนผลิต โดยย้อนไปผลิตรถน้ำมันให้กลับมาอีก รับรองว่าเจ๊งยิ่งกว่า  ผลิต ev 109%  เสียอีก 
  ดังนั้นสิ่งที่สมเหตุสมผล ดีที่สุด กับยานพนะ ของประเทศยังไม่พัตนา (หัวชาร์จมีน้อย ,ถนนหนทางยังไม่ปลอดภัยกับแบตเตอรี่ใต้รถ ) ก็คงต้องใช้ แบบไฮบริดไปก่อน ช่วยโลกได้  70 % อีก 30% ใช้น้ำมันไปก่อน เพราะความจริงที่เหมาะสมกับยุคนี้ คือ รถไฮบริดครับ จนกว่า ..
1. แบตเตอรี่ ไม่ใช่ระเบิดเวลาที่ติดไว้ใต้รถไฟฟ้าทุกคน อีกต่อไป
2.นน.เบตเตอรี่ที่วิ่งได้สัก 500 กิโล มีนน.เท่ากับ น้ำมันเต็มถังของรถน้ำมันที่วิ่งได้ 500 โลเหมือนกัน
3. ชาร์แบเตอรี่ 500 กิโลในข้อ 2 ใช้เวลาเท่ากับ เติมน้ำมัน เต็มถัง (สัก 5 นาที) 
  คงเห็นปัญหาไหมครับ? ความไม่ชอบรถ ev ก็คือหัวข้อที่คนใช้เอาไปเปรียบเทียบกับ รถน้ำมันที่คุ้นเคย  บอกแล้วงัยว่า ถ้ารถน้ำมันไม่เคยมีมาก่อน ทุกวันนี้ อาจมีหัวชาร์จเต็มไปหมดทั่วประเทศ  , คนใช้รถคงคุ้นกับการรอชาร์จไฟครึ่ง ชม. แบตเต็ม หรือ แบตเตอรี่รถอาจชาร์จแค่ 5 นาที , นน.ก็เบาและไม่ลุกไฟง่าย 
  เพราะรถไฟฟ้ามันเกิดช้าไป จนต้องเร่งพัฒนาจนไม่ทันใจคนใช้ และคนใช้ก็ดันไปคุ้นชินกับรถน้ำมันมาก่อนนี่แหละคือปัญหา ..jpmong