วันพุธที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2562

เรื่องหมากับคน

  วันนี้นั่งรอ จนท.อยู่ ก.ะานิชย์ว่างๆเลยหาเรื่องเขียน อะไรเล่นๆไม่รู้จะมีประโยชน์กะใครไหม? แต่ที่แน่ๆคงจะมีบ้างกะคนรักหมารักแมวนะครับ
  เรื่องของเรื่องคือ ช่วงหลังมานี่ผมต้องเอาสุนัขที่บ้าน สองตัวผลัดกันเข้า รพ.เพราะอายุเยอะเป็นโรคสุนัขชรา ไปนั่งบ่อยๆ แอบได้ยินบ่อยๆว่า หมาเป็นโรคเยอะตอนแก่เพราะตลอดชีวิตกินอาการคน...แรกๆก็ไม่ค่อยสนใจแต่ได้ยินบ่อยๆเลยมานั่งคิดดู...เออ..!! มันมีที่มาที่ไปนะ..!!
  เรื่องก็คือ หมาเป็นสัตว์ที่เกิดมาเป็นสัตว์กินเนื้อ แต่คนเป็นสัตว์กินพืช สองสปีชี่ย์นี่คนละเรื่องกันเลย..!!  ถ้ากินอาหารผิดธรรมชาติของตัวเอง ย่อมสะสมโรคภัยมากมาย แน่นอน  แต่เจ้ากรรมของเจ้าหมาที่เกิดมาถูกคนเอามาเป็นสัตว์เลี้ยง อาหารที่ถูก(บังคับ)ให้เจ้าหมากินก็ต้องไปอาหาระวก ข้าว ผัก ของคาว เป็นส่วนมาก  เจอแแบบเ

วันจันทร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2562

เรื่องนอนกลางคืนฉี่บ่อย

เรืองตื่นมาฉี่กลางคืน ไม่นึกว่าจะซับซ้อนขนาดนี้

“ปัสสาวะกับภาวะหัวใจอุดตัน”
  อยากให้ สละเวลาซัก 2 นาที เพื่ออ่านบทความ อันมีค่านี้
  แพทย์ชาวอเมริกันได้กล่าวถึง  ปัญหาความเกี่ยวเนื่อง ระหว่าง การปัสสาวะ ตอนกลางคืน กับ ภาวะการอุดตัน ของหัวใจและ สมอง
   วันนี้เอาความรู้ที่สำคัญที่ พวกเราต้องระวังมาเล่าสู่กันฟัง
   คนแก่มักมีปัญหาของ การปัสสาวะตอนกลางคืน  ทำให้ไม่ยอมดื่มน้ำก่อนนอน และไม่ยอมดื่มน้ำ หลังจากที่ตื่นขึ้นมาปัสสาวะ กลางดึก แต่นี่ กลับกลายเป็นสาเหตุสำคัญ ที่ทำให้เกิด ภาวะสมองอุดตัน ในยามเช้าของ คนแก่ได้
   จริงๆแล้ว ภาวะการปัสสาวะ สองครั้งในเวลาคืน ไม่ใช่ปัญหาการเสื่อม สมรรถนะของกระเพาะ ปัสสาวะ     
  ที่ปัสสาวะตอนกลางคืน ก็เพราะคนแก่มีประสิทธิภาพ ของหัวใจที่เสื่อมถอย หัวใจห้องขวา สูบโลหิตจากร่างกาย ช่วงล่างเข้าหัวใจ อ่อนแรงลง....
    อิริยาบถของคนเราที่ทำงาน ในเวลากลางวัน ทำให้ เลือดไหลลงสู่ด้านล่างของ ร่างกายได้ง่าย  และคน ที่หัวใจไม่ปกติ หัวใจไม่ค่อยมีแรง ที่จะสูบเลือดให้กลับขึ้น สู่หัวใจ แรงโน้มถ่วง เป็นแรงกดที่จะทำให้ ช่วงล่างของคนแก่เหล่านี้ มีลักษณะบวมน้ำ  พอตกกลางคืน เวลานอนราบ ร่างกายช่วงล่าง มีแรงกดน้อยลง น้ำที่สะสมอยู่ ในร่างกายช่วงล่าง ก็จะซึมกลับ เข้าสู่กระแสเลือด
   เวลาน้ำในร่างกายมากเกินไป ไตก็จะเริ่ม ขับน้ำออก ทำให้ กระเพาะปัสสาวะ กระตุ้น เรา ให้ตื่นขึ้นมา ปัสสาวะในเวลากลางคืน
   ดังนั้นหลังจากนอนราบ ได้ 3-4 ชั่วโมง ก็ต้องตื่นขึ้นมา เข้าห้องน้ำครั้งหนึ่ง  แต่น้ำในเลือดที่ยังไม่หมด ยังคงสะสมมากขึ้น เรื่อยๆ ทำให้ผ่านไปอีก 3 ชั่วโมง ก็ต้องลุกขึ้นมา เข้าห้องน้ำเป็นครั้งที่ 2  ...แล้วทำไมจึงเป็นสาเหตุสำคัญ ทำให้สมองอุดตัน หรือหัวใจอุดตันล่ะ
   ก็เพราะว่าหลังจากถ่าย ปัสสาวะไป 2-3 ครั้ง ระดับน้ำในเลือดมีปริมาณน้อยลงมาก ในฤดูหนาว อากาศที่แห้ง จะดูดความชื้น จากลมหายใจของเรา ด้วย ทำให้เลือด เริ่มกลายสภาพหนืดข้น ขึ้น อีกทั้งเวลานอน ร่างกายมี activity ต่ำ และหัวใจ เต้นช้าลง ทำให้เลือด ที่หนืดข้นเกิดการอุดตันได้ง่าย นี่คือ สาเหตุสำคัญที่ว่า ทำไมคนแก่ส่วนใหญ่ มักจะเกิดปัญหา หัวใจอุดตัน หรือ สมองอุดตัน ในเวลาตี 5 หรือ 6 โมงเช้า และทำให้ เกิดภาวะการตายในขณะนอนหลับ
   เรื่องแรกที่จะบอกทุกท่านก็คือ การปัสสาวะ ตอนกลางคืน ไม่ใช่ความบกพร่อง ของ กระเพาะปัสสาวะ หรือ ปัญหา ของหัวใจอ่อนแรง
   เรื่องที่ 2 ที่ต้องบอกทุกท่านก็คือ ก่อนนอนจะต้องดื่มน้ำอุ่น และ หลัง ลุกขึ้นมาปัสสาวะ ในตอนกลางคืนแล้ว ก็ควรดื่มน้ำอุ่นอีก อย่ากลัว การปัสสาวะ ในเวลากลางคืน เพราะ การไม่ดื่มน้ำ จะทำให้ เกิดอันตรายถึงชีวิตได้

   เรื่องที่ 3 ที่ต้องบอกทุกท่านก็คือ ในเวลาปกติควรฝึกออกกำลังกายให้หัวใจแข็งแรง ร่างกายคนเราไม่ใช่เครื่องจักร เครื่องจักรใช้บ่อยๆ จะสึกหรอได้ แต่ร่างกาย กลับตรงกันข้าม ถ้าฝึกบ่อยๆจะแข็งแรงขึ้น
   ในเวลาปกติ จะต้องไม่กินอาหารที่ทำให้เสียสุขภาพ โดยเฉพาะอาหารประเภทแป้ง และอาหารที่ทอด ด้วยน้ำมัน
    ถ้าคุณชอบบทความนี้ กรุณาส่งต่อให้เพื่อนสูงอายุที่คุณรัก

     Pink Planet TH : นำเสนอโดย หัวหน้าพยาบาลเกษียณ

วันอาทิตย์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2562

แากาศที่หายใจกับชีวิต

หายใจเข้า...หายใจออก
หายใจเข้า...หายใจออก
เคยได้ยินมั้ยที่คนทั่วไปมักพูดว่า
"เราหายใจเอาออกซิเจนเข้าไปฟอกเลือด และหายใจออกเป็นคาร์บอนไดออกไซด์"

ฟัง ๆ ดูเหมือนว่าร่างกายเราช่างมหัศจรรย์ สามารถเลือกที่จะหายใจเข้าเฉพาะออกซิเจน ทั้ง ๆ ที่อากาศเรามีออกซิเจนแค่ 21% เท่านั้น แล้วภายในเวลา 2-3 วินาทีเราก็สามารถนำออกซิเจนไปใช้ได้ทั้งหมด แล้วก็หายใจออกเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ล้วน ๆ ช่างเป็นเครื่องจักรที่สมบูรณ์แบบอะไรอย่างนี้
ทำไมไม่มีใครสงสัยว่า ไนโตรเจนตั้ง 78% หายไปไหน? ตอนที่หายใจเข้าไป เราสามารถใช้ออกซิเจนได้หมดจริงหรือ? เราหายใจออกเป็นคาร์บอนไดออกไซด์ล้วน ๆ จริงหรือ? ไม่เหลือออกซิเจนซักนิดเลยหรือ?

ค้นคว้าอยู่พักหนึ่งแล้วผมก็พบว่า เราไม่ได้ "หายใจเอาออกซิเจนเข้าไป" แต่เราหายใจเอาอากาศเข้าไปเราไม่ได้ "หายใจออกเป็นคาร์บอนไดออกไซด์" แต่เราหายใจออกมาเป็นอากาศที่มีปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ส่วนไนโตรเจน มีอยู่ทั้งในลมหายใจเข้าและลมหายใจออก
มันก็เหมือนกับชีวิตเรานั่นแหละสิ่งที่ผ่านมาในชีวิตมันมีทั้งเรื่องดี ๆ (ออกซิเจน) เรื่องร้าย ๆ (คาร์บอนไดออกไซด์) และเรื่องกลาง ๆ (ไนโตรเจน)ปนเปกํนเข้ามา เราไม่สามารถเลือกหายใจเอาออกซิเจนเข้าไปได้ฉันใด เราก็ไม่สามารถเลือกให้สิ่งที่ผ่านเข้ามาในชีวิตของเรามีแต่เรื่องดี ๆ ได้ฉันนั้น

เรื่องดี ๆ ที่ผ่านเข้ามาแล้ว บางอย่างก็ซึมซาบเข้ามาในชีวิตของเรา ช่วยทำให้เรามีชีวิต และมีชีวา

เรื่องดี ๆ บางเรื่องผ่านเข้ามาแล้วก็ผ่านออกไป เราไม่มีเวลาพอที่จะดึงมันมาใช้เป็นประโยชน์แก่ชีวิตของเราได้ เป็นโอกาสดี ๆ ที่สูญเสียไปในชีวิตคนเรา เหมือนกับออกซิเจนที่อยู่ในลมหายใจออก

เรื่องกลาง ๆ ไม่ดีไม่ร้าย ผ่านเข้ามาแล้วก็ผ่านออกไป เหมือนไนโตรเจนซึ่งมันมีอยู่ตามธรรมชาติ แล้วมันก็เป็นส่วนใหญ่ซะด้วยสิ

เรื่องร้าย ๆ มันมีแค่นิดเดียวเอง (คาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศมีแค่ 0.1% แต่ออกซิเจนมีมากถึง 21%) ตราบใดที่เรายังหายใจอยู่ เราก็ต้องถ่ายเรื่องร้าย ๆ เหล่านี้ทิ้งไปจากชีวิตของเรา

มีคนเคยถามว่าถ้าเราหายใจเอาออกซเจนบริสุทธิ์เข้าไปแล้ว จะดีต่อร่างกายมั้ย คำตอบคือไม่ดี เราอาจตายได้ภายในเวลาไม่นาน เนื่องจากเกิดอาการ hyperventilation คือร่างกายไม่ยอมหายใจเพราะขาดคาร์บอนไดออกไซด์ หมายความว่าคาร์บอนไดออกไซด์นี่แหละคือสิ่งที่กระตุ้นให้เราหายใจ เมื่อขาดคาร์บอนไดออกไซด์ ก็ไม่มีอะไรไปกระตุ้นร่างกายว่าต้องหายใจนะ ร่างกายก็หยุดหายใจ เกิดอาการเกร็งทั้งตัว และการผายปอดก็ไม่ช่วยอะไร เพราะผู้ป่วยจะต้องการคาร์บอนไดออกไซด์ ไม่ใช่ออกซิเจน การปฐมพยาบาลจึงง่ายแสนง่าย ให้หายใจในถุง ทำให้ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์สูงขึ้น แล้วผู้ป่วยจะกลับมาหายใจได้เอง

มันเหมือนกับชีวิตคนอีกนั่นแหละ มันต้องกระตุ้นด้วยเรื่องร้าย ๆ จึงจะทำให้ชีวิตนี้มีแรงสู้ต่อไป ทำให้เราแข็งแกร่งขึ้น ทำให้เราได้รู้ว่า "ชีวิตไม่สิ้นก็ดิ้นไป ชีวิตไม่ดิ้นก็สิ้นใจ" ถ้ามีแต่เรื่องดี ๆ เราก็จะเฉาตายเพราะขาดแรงกระตุ้น

คนที่อยู่ในที่อับอากาศแล้วตาย เขาไม่ได้ตายเพราะคาร์บอนไดออกไซด์ แต่ตายเพราะคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO)ก๊าซนี้มีความน่ากลัวตรงที่มันมีมวลโมเลกุล 28 ใกล้เคียงกับอากาศ (มวลโมเลกุลเฉลี่ยประมาณ 29) มันจึงล่องลอยไปได้ทุกที่ที่มีอากาศ ไม่กองกับพื้นอย่างคาร์บอนไดออกไซด์ (มวลโมเลกุล 44) ที่น่ากลัวกว่านั้นคือมันมีรูปร่างเป็น 2 อะตอมเหมือนออกซิเจน (O2) มันจึงสามารถจับกับฮ๊โมโกลบินได้อย่างแนบแน่น และแน่นกว่าออกซิเจน มันจึงจับแล้วไม่ปล่อย ทำให้ฮีโมโกลบินโมเลกุลนั้นหมดโอกาสที่จะจับกับออกซิเจนอีก เท่ากับว่าหมดอนาคตแล้วสำหรับฮ๊โมโกลบินโมเลกุลนั้น รอเวลาให้ร่างกายกำจัดเท่านั้น

ชีวิตคนเราก็เป็นอย่างนั้น เรื่องที่ร้ายที่สุด เจ็บที่สุด มักจะมาในรูปที่คล้ายคลึงกับข่าวดีมากที่สุด เรานึกว่าเป็นเรื่องดี ก็รับเข้ามา แต่พอเข้ามาแล้วจับกับเราแน่น ตราตรึงฝังใจของเรา แต่ทำให้เราหายใจไม่ได้ จะคายออกมันก็ไม่ยอมออก มันทำให้ฮีโมโกลบินดี ๆ ของเรากลายเป็น คาร์บอกซีฮีโมโกลบิน ที่มีแต่โทษ ไม่มีประโยชน์ใด ๆ ทางเดียวที่จะแก้ปัญหามันได้ คือใช้ม้ามของเรานี่แหละ กำจัดเม็ดเลือดหมดอายุเม็ดนั้นทิ้งซะ แล้วเอาฮีโมโกลบินเหล่านั้นไปทิ้งทะเล (ทะเลคอห่าน)นั่นคือวิธีที่ดีที่สุด

ชีวิตยังไม่สิ้นก็ดิ้นไป
ชีวิตไม่ดิ้นก็สิ้นใจ