วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2563

  สวัสดีตอนเช้า วันอังคารครับ บ้านเมืองเราตอนนี้ มีกระแสร้อนๆหลายเรื่อง เช่น  โควิท กับม็อบเด็ก เป็นธรรมดาที่ห้องไลน์กลุ่มทุกกลุ่มในบ้านเมืองเรา จะมีบทความเกี่ยวกับเรื่องร้อนๆ ลงกันมาหนาตามากกว่าปรกติ ซึ่งส่วนตัวผมว่าเป็นเรื่องดี เพราะนั่นแสดงว่า  พวกเรายังไม่ทิ้ง เรื่องราวที่เป็นส่วนรวม ยังมีใจมีห่วงอยู่กับ ชาติ บ้านเมืองเป็นส่วนรวม มีบทความเหล่านี้บ้านในไลน์กลุ่มไหน ยังดีกว่า ไลน์กลุ่มที่ไม่มีอะไรเลยไหม? ที่มีแต่ สวัสดีตอนเช้า ไปเที่ยวไหนกันมา? ร้องเพลง เต้นรำ กิจกรรม..ฯลฯ  ไลน์กลุ่มที่มีค่าควรจะมีคนหลากหลายความรู้ หลากหลายประสบการณ์ แล้วเอาความรู้ เอาประสบการณ์ ที่แต่ละคนมีมาบอก มาเล่า มาแนะนำ เอามาจากที่อื่นบ้างมาให้รู้กัน ให้ประโยชน์คนอื่นก่อนจะตายจากไป.. ไลน์กลุ่มไหนมีสมาชิกแบบนี้มาก จะยิ่งเป็นไลน์กลุ่มที่มีค่า ควรจะเก็บไว้ แม้จะเปลือง memory ก็ตาม
   ทีนี้ต่อไปก็เป็นหน้าที่ของผู้เสพข้อมูล ต้องใช้ความพยายามมากหน่อย ในการอ่านให้จบ วิเคราะห์ให้ดี อดใจให้ได้ก่อนจะวิจารณ์โดยเฉพาะแอดมินของกลุ่ม คงจะต้องไวกว่าคนอื่น พร้อมที่จะกระโดดลงตรงกลาง ระหว่างความขัดแย้งใดๆ  หน้าที่นี้แหละที่หลายคนอยากเปิดกลุ่มไลน์ของตัวเอง แต่กลัวจะทำหน้าที่นี้ไม่ไหว เลยขอเป็นสมาชิกห้องอื่นดีกว่า
   โอกาสนี้ ผมขออนุญาต แสดงความเห็นส่วนตัวนิดนึงนะครับ 
   ผมแยกแยะเรื่อง ส่วนรวมที่เกิดขึ้น ในบ้านเมืองเรา ออกเป็น 4 ประเภท ตั้งศัพท์เอง เอาไว้ใช้แยกแยะ เพราะไม่มีใครแยกไว้ให้ พอไม่มีใครแยก ทุกเรื่องที่ลงโพสทุกเรื่องที่เกี่ยวกับส่วนรวมเลยถูกตีความว่าเป็นการเมืองหมด เรื่องที่ควรแก่การบอกกล่าวให้รู้กันเลยต้องถูกเก็บไว้คนเดียว..
 1.เรื่องส่วนรวมที่เป็นประโยชน์ต่อชาติ และส่วนรวม เช่น นโยบายต่างประเทศ ที่สมาคม หรือประเทศอื่น ที่มีต่อไทย เช่นนโยบายการค้า การเมืองระหว่าประเทศ เศรษฐกิจ  หรือ เรื่องไวรัสโควิท..ฯลฯ  แบบนี้ผมเรียกว่าเรื่อง..""ส่วนรวมของชาติ.." ที่ทุกคนควรรู้ อันนี้ "ลงโพสได้ "
  2. เรื่องที่ คนในชาติ มีความเห็นแตกต่างกันตั้งแต่  2 กลุ่มขึ้นไป เช่น เรื่องสีแดง สีเหลือง สีฟ้า สีขาว ฯลฯ หรือ ม็อบนี่แหละ มีทั้งสนับสนุน และ ไม่เห็นด้วย  แบบนี้เป็นเรื่องระหว่าง กลุ่มประชาชน กับ กลุ่มประชาชน แบบนี้เรียกว่า.."เรื่องการเมือง."" อันนี้ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะลงโพส
   3.เรื่องเกี่ยวกับ ปัญาส่วนรวม ที่หน่วยงานของรัฐรับผิดชอบต่อปัญหานั้น เช่น ถนนเป็นหลุมเป็นบ่อ สาธารณะประโยชน์ที่ ผุพังสร้างปัญหาให้ ประชาชน จึงเป็นเรื่องระหว่างหน่วยงานของรัฐ กับ กลุ่มประชาชน ผมเรียกว่า ..""เรื่องการบ้าน.."" อันนี้ลงได้ ควรจะลงด้วย 
  4. เรื่องส่วนตัว ระหว่าง ประชาชน บุคลกับบุคล เช่น กรณีทะเลาะกันเรื่องจอดรถขวางหน้าบ้าน เป็น .""เรื่องส่วนตัว""ครับ อันนี้เรื่องของชาวบ้าน ไม่น่าเอามาลง แต่ถ้าลงเป็นอุทาหรณ์ เพราะเป็นข่าว ก็ไม่ว่ากัน
        ข้อ 2 กับข้อ 3 ""การเมือง"กับ""การบ้าน"" เป็นตัวสร้างปัญหามากที่สุดในกลุ่มไลน์ ยากต่อการแยกแยะ ต้องอ่านให้ดี พิจารณา ให้มากหน่อย ตรงนี้แหละที่จะพิสูจน์ วิจารณญาณ ว่าคนอ่านมีกึ๋นแค่ไหน ?
 ขอยกตัวที่มักจะสับสนกันระหว่า 2 ข้อนี้..
 เช่น.. รัฐบาลมีนโยบาย จะรื้อตำหนักเก่า เพื่อบูรณะ สร้างใหม่ขึ้นมาแทน แต่มี ปชช.ท้องที่กลุ่มหนึ่งออกเดินขบวนต่อต้าน เพราะเกรงว่าศิลปดั้งเดิมจะสูญหายไป ตอนนี้เป็นเรื่องระหว่างหน่วยงานของรัฐ กับ กลุ่ม ปชช. (ประชาชน) กลุ่มหนึ่ง ถ้าเราจะลงโพสสนับสนุน ปชช.กลุ่มนี้ก็น่าจะทำได้ เพราะ น่าจะมองว่าเป็นเรื่อง การบ้าน แต่ในเรื่องเดียวกัน เกิดมี ปชช.อีกกลุ่มมาสนับสนุนให้รื้อ ตามนโยบายรัฐ เรื่องนี้กลายเป็นการเมืองที่ไม่ควรลงสนับสนุนฝ่ายใดแล้ว เพราะ กลายเป็นความขัดแย้งของกลุ่ม ปชช.อย่างน้อย 2กลุ่ม กลายเป็นหัวข้อ ..""..เรื่องของการเมือง.."" ไปแล้ว
  ส่วนตัวแล้ว พึงระลึกไว้เสมอว่า ตราบใดที่ห้องไลน์ห้องไหน มีคนสนใจหาโพสมาลง แสดงว่าสมาชิกคนนั้นเขาสนใจให้ความหมายว่ากลุ่มนั้นยังมีค่าแก่เขา เคยถามตัวเองไหมว่า เหตุที่เราไม่ไปคุย ไปลงโพส ห้องไหนหรือบางทีเราลาออกไปเลย เป็นเพราะ เราคิดว่าไลน์กลุ่มนั้นไม่มีค่าสำหรับเราที่จะเป็นสมาชิกให้เปลือง หน่วยความจำของเราอีกต่อไป...
   ในไลน์กลุ่ม ..กลุ่มที่มีค่า คือกลุ่มที่มีสมาชิกที่มีความรู้ ความสามารถ ทั้งหน้าที่การงาน ในสังคม ดีๆอยู่กันมาก แต่ข้อเสียที่จะตามมา คือ ที่ไหนมีคนเก่งมาก ก็ต้องเจอความเชื่อมั่นตัวเองของสมาชิกแต่ละคน ความขัดแย้งย่อมเกิดบ่อย แอดมินกลุ่มนั้นก็ต้องแข็งแรงมากพอตามไปด้วย ต้องฝึกความคิด ฝึกใช้คำพูดประนีประนอม หรือจะเลือกเป็นกลุ่มไลน์ที่ไม่มีอยู่ข้างใน สมาชิกลงโพสกันแต่เรื่อง..ที่เป็นอะไรที่..ไปวันๆ..

   หวังว่าไม่ได้เป็นบทความทางการเมืองนะครับ เพราะไม่ได้เชียร์ฝ่ายไหนว่าถูกผิด แต่ห่วงเยาวชนไทย ห่วงอนาคตของประเทศเราเป็นส่วนรวม 
      บทความนี้ผมเขียนขึ้นเอง จากความคิดของตัวเอง ..ไม่กล่าวว่าใคร เพียงอยากให้คนที่คิดว่าตัวเองเป็นผู้ใหญ่แล้ว เรียกตัวเองว่าปัญญาชนแล้ว ค่อยๆลองคิดดู 
   ความหมายของนักเรียนกับนิสิต นักศึกษา...:
   นักเรียน หมายถึง ผู้เรียนในโรงเรียนระดับอนุบาล ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา
  นิสิต และ นักศึกษา หมายถึง ผู้เรียนในระดับอุดมศึกษา (นิสิตเป็นคำที่ใช้เฉพาะในสถาบันอุดมศึกษาบางแห่งเท่านั้น)
  ถ้าคิดง่ายๆหน่อยก็น่าจะเป็นว่า นักเรียนคือวัยเรียนที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ถ้าทำผิดก็ขึ้นศาลเยาวชน หรือไม่ก็สถานดัดสันดาน ส่วนนักศึกษาเป็นผู้เรียนที่มีความคิด ผิดชอบชั่วดีแล้ว บรรลุนิติภาวะแล้ว.. 
   เรื่องนี้ผมทำงานไปก็คิดไป..ทำไมประเทศไทยถึงโชคร้ายขนาดนี้ ? เด็กนักเรียนวัยที่ยังใส่กระโปรง ผูกหูกระต่าย ใส่กางเกงขาสั้น วิชาแคลคูรัส ก็ยังไม่รู้จักกันเลย แต่ออกมาเดินขบวนเรียกร้อง เรื่องการเมืองที่ ผู้ใหญ่ระดับประเทศคุยกันไม่เข้าใจ ตัดสินใจอะไรกันไม่ได้.. !!!
  เรื่องนี้มันบ่งบอกอะไร? มีนัยสำคัญแค่ไหน? ในสายตาชาวบ้านอย่างผม ??..
  ความจริงวันนี้สิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆและลามไป ตจว. หลายโรงเรียนใน ตจว.ต้องปิด เด็กนักเรียนหลายคนไม่ยอมเข้าเรียน เพียงเพื่อไปจะร่วมเข้าม็อบ ...
  1. ถ้าเด็กเหล่านี้ถูกครอบงำมา จากผู้ใหญ่ทั้งคนไทยด้วยกันเองหรือพวกฝรั่งตาน้ำข้าว คนเบื้อหลังเหล่านี้ก็ถือว่ามีความคิดเห็นแก่ตัวเป็นที่สุด ที่เอาความต้องการของตัวเอง ยัดใส่สมองที่บริสุทธ์ของเยาวชนไทยมาทำลายพ่อแม่ ลุง ป้า น้า อา ของพวกเขาเอง กะให้ทำลายไปถึงระดับสูงๆ ระดับที่เกินกว่าผู้ใหญ่อย่างเราๆจะบังอาจเอื้อมไปถึงเสียอีก  พวกเบื้องหลังเหล่านี้ มันรู้ว่า เด็กทำผิด ถือว่ารู้เท่าไม่ถึงการณ์ ถ้าเป็นคดีก็ยังให้แค่เข้าดัดสันดาน  อย่าลืมนะว่า เด็กวัยนี้ ทำความผิดร้ายแรงแค่ไหนก็ตาม ก็ยังได้รับพิจารณาโทษบนตรรกะที่ว่า ""รู้เท่าไม่ถึงการณ์"" หรือ ."".คะนองไปตามวัย..""  มันใช้พลังบริสุทธิ์เหล่านี้ทำลายบ้านเมือง ทำลายลุงป้าน้าอาพวกเขาเอง อาศัยความจริงที่ว่า เด็กๆเหล่านี้ทำเลวแค่ไหน พ่อแม่ ผู้ใหญ่ก็ต้องอภัย แต่รู้ไหม? นอกจากผลร้ายที่เด็กๆทำแล้ว ยังมีความคิดใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา ที่ฝั่งไว้ในสมองเด็ก ตั้งแต่อายุยังน้อยขนาดนี้
  ที่ฮ่องกง วัยปัญญาชน ก่อม็อบกันจนป่นปี้ มาดูเมืองไทยกับเลวร้ายกว่าอีก ที่ใช้วัยเด็กอายุน้อยลงไปอีก มาก่อม็อบเดินขบวน ..คนที่คิดทำแบบนี้ มันช่าง.....!!!..จริงๆ..!!.
  หรือ 2. ถ้าเด็กๆเหล่านี้บางคน ออกมาเรียกร้องด้วยความคิดจริงๆของเขาเองละ..? มันหมายถึงอะไร? ประเทศเราเกิดอะไรขึ้น..?? ที่ผู้ใหญ่วัยบริหารประเทศ คุยกันไม่ได้ ตัดสินกันไม่ลงตัว ต้องให้เด็กวัยที่ ยังต้องแบมือขอตังค์แม่ใช้ ควรเรียนหนังสืออยู่ในห้องเรียน ต้องออกมาเรียกร้องอะไรกันเองแบบนี้  พวกผู้ใหญ่ทั้งหลายควรก้มมองตัวเองได้หรือยัง..??  หรือยังดื้อแพ่ง คิดว่าตัวเองถูกเสมอด้านเดียวอยู่?  
  ส่วนตัวผมไม่อาจฟันธงได้ว่า อะไรเหมาะหรือไม่เหมาะ แบบไหนถูกหรือผิด.?? ฝ่ายไหนควรอยู่หรือไป .?? ไม่อยากยุ่งเรื่องการเมืองที่ซับซ้อนจนตามไม่ทัน ...  แต่ที่แน่ๆ มิติใหม่ทางการเมืองได้เกิดขึ้นเป็นแห่งแรกในโลกคือ ที่ประเทศไทย ที่เด็กๆวัยเรียนหนังสือ วัยที่ขบวนการคิดยังไม่เป็นหลักเป็นการ วัยที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ อาสาสมัครออกมาเดินเรียกร้องทางการเมือง ซึ่งหน้าที่นี้มันน่าจะเป็นวัยผู้ใหญ่เขาทำกันเหมือนนาๆประเทศประชาธิปไตยอื่นๆ
  ปล่อยให้การเมืองเป็นเรื่องของผู้ใหญ่เถอะครับ ช่วยๆกันหาวิธีให้เด็กๆกลับไปอยู่ในโรงเรียน อยู่ในโอวาทของพ่อแม่เป็นอย่างที่มันเคยเป็น
  ก็...ไม่อยากให้ผู้ใหญ่ หลายๆคนฝังหัวตัวเองว่า เด็กมันผิด..!! มันไร้สาระ..!! การกระทำพวกมันหาสาระไม่ได้..!! อย่าไปสนใจ..!! ไร้สาระ..!! ที่น่าเป็นห่วงก็คือ ไอ้ความไม่มีสาระ ไร้ความคิดนี่แหละ ถ้ามันเกิดอารมณ์เอาชนะ ควบคุมตัวเองไม่ได้ตามวัยคนองของพวกเขา แถมไปอยู่รวมกัน เจอทั้งแรงยุ แรงกระตุ้น ฯลฯ เกิดทำอะไรบ้าๆประชดผู้ใหญ่ กันขึ้นมา มันจะกลายเป็นข่าวใหญ่ที่เลวร้ายไปไกลเลยละครับ...ผมว่าบรรยากาศตอนนี้ ทุกฝ่ายคงต้อง ใช้วิธีที่ละเอียดรอบมากๆหน่อยเลยละ จะตอบ จะแก้ จะให้สัมภาษณ์อะไรก็ควรต้องระวังความคิด ระวังคำพูด ระวังแม้กระทั่งสีหน้าท่าทาง ระวังอารมณ์กันมากหน่อย  ไม่อยากให้มีเรื่องที่ไม่คิดว่ามันจะเกิดขึ้นได้...!!.pjmong..

วันจันทร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2563

ประโยชน์กัญชง

กัญชง

กัญชง ชื่อสามัญ Hemp (เฮมพ์)[2]

กัญชง ชื่อวิทยาศาสตร์ Cannabis sativa L. subsp. Sativa จัดอยู่ในวงศ์กัญชา (CANNABACEAE)[1]

ลักษณะของกัญชง

  • ต้นกัญชง จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกที่มีอายุเพียงปีเดียว ลำต้นเป็นสีเขียวตั้งตรง มีความสูงได้ประมาณ 1-6 เมตร มีลักษณะอวบน้ำเมื่อเป็นต้นกล้า และจะเริ่มมีการสร้างเนื้อไม้เมื่ออายุได้ประมาณ 2-3 สัปดาห์ การเจริญเติบโตของต้นจะช้าในช่วง 6 สัปดาห์แรก หลังจากนั้นจะเพิ่มความสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จนมีความสูงโดยเฉลี่ยประมาณ 3 เมตร มีรากเป็นระบบรากแก้วและมีรากแขนงเป็นจำนวนมาก การปลูกต้นกัญชงจะปลูกด้วยการใช้เมล็ด ซึ่งใช้เวลางอกประมาณ 8-14 วัน และสามารถเก็บเกี่ยวได้เมื่อต้นอายุ 3-4 เดือน กัญชงเป็นพืชที่มีแหล่งกำเนิดในเอเชียกลางและแพร่กระจายไปสู่เอเชียตะวันออก อินเดีย และในทวีปยุโรป[1],[5]

ต้นกัญชง

เฮพม์

  • ใบกัญชง ใบเป็นใบเดี่ยว ลักษณะของใบเป็นรูปฝ่ามือ แผ่นใบแก่แยกเป็นแฉกประมาณ 7-9 แฉก การเรียงตัวของใบค่อนข้างห่าง ขอบใบจักเป็นฟันเลื่อยและเว้าลึกจนถึงโคนใบ ปลายใบสอบและเรียวแหลม ก้านใบยาวประมาณ 2-7 เซนติเมตร เมื่อมีการสร้างดอกจำนวนแฉกของใบจะลดลงตามลำดับ[5]

ใบกัญชง

  • ดอกกัญชง ออกดอกเป็นช่อตามซอกใบและปลายยอด ดอกมีขนาดเล็กสีขาว มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-4 มิลลิเมตร ดอกเป็นแบบแยกเพศและอยู่ต่างต้นกัน (บางชนิดอยู่ต้นเดียวกัน แต่ที่พบปลูกในบ้านเราคือชนิดที่อยู่ต่างต้นกัน) โดยช่อดอกเพศผู้จะเป็นแบบ panicle ประกอบไปด้วยกลีบเลี้ยง 5 กลีบ แยกจากกันเป็นอิสระ มีสีเขียวอมเหลือง มีเกสรเพศผู้ 5 อัน มีระยะเวลาการบานประมาณ 2 เดือน (ภาพบน) ส่วนดอกเพศเมียจะเกิดตามซอกใบและปลายยอด ในบริเวณช่อดอกจะอัดกันแน่น ช่อดอกจะเป็นแบบ spike ประกอบไปด้วยกลีบเลี้ยงสีเขียวเข้มหุ้มรังไข่ไว้ ภายใน stigma 2 อัน สีน้ำตาลแดง อายุของดอกค่อนข้างสั้นประมาณ 3-4 สัปดาห์ก็จะติดผล (ภาพล่าง)[5]

ดอกกัญชงเพศผู้

ดอกกัญชงเพศเมีย

  • ผลกัญชง ผลเป็นเมล็ดแห้งสีเทา ลักษณะเป็นรูปไข่ ผิวเรียบเป็นมันและมีลายประสีน้ำตาล เมื่อแห้งจะเป็นสีเทา มีขนาดกว้างเฉลี่ยประมาณ 4.47 มิลลิเมตร ยาวประมาณ 5.11 มิลลิเมตร และมีความหนาเฉลี่ยประมาณ 3.75 มิลลิเมตร ภายในเมล็ดมีอาหารสะสมจำพวกแป้งและไขมันอัดกันแน่น โดยมีน้ำมันถึง 29-34%, มีไขมันชนิดไม่อิ่มตัวสูง ประกอบไปด้วย linoleic acid 54-60%, linolenic acid 15-20%, oleic acid 11-13%[5]

เมล็ดกัญชง

กัญชง กับ กัญชา

มีหลายคนมักเข้าใจผิดคิดว่า ต้นกัญชงก็คือกัญชา แต่แท้จริงแล้วต้นกัญชงแค่มีลักษณะคล้ายคลึงกับต้นกัญชาในด้านลักษณะทางพฤกษศาสตร์เท่านั้น ไม่ใช่พืชที่เป็นสารเสพติดเหมือนกัญชา เพียงแต่ต้นกัญชงเป็นพืชที่นิยมนำมาแปรรูปทำเป็นผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการถักทอ[1]

กัญชงและกัญชา

โดยต้นกัญชง (Hemp ชื่อวิทยาศาสตร์ Cannnabis sativa L. Subsp. sativa) จะมีลำต้นสูงมากกว่า 2 เมตร ปล้องหรือข้อยาว แตกกิ่งก้านน้อยและแตกกิ่งไปในทิศทางเดียวกัน เปลือกเหนียวลอกง่าย ให้เส้นใยยาวคุณภาพสูง แผ่นใบเป็นสีเขียวอมเหลือง ใบมีแฉกประมาณ 7-9 แฉก การเรียงตัวของใบค่อนข้างห่าง เมื่อออกดอกจะมียางที่ช่อดอกไม่มาก เมล็ดมีขนาดใหญ่และเป็นลายบ้าง ผิวเมล็ดหยาบด้าน ใบเมื่อนำมาสูบจะมีกลิ่นหอมน้อย ทำให้ผู้เสพปวดหัว มีสาร tetrahydrocannabinol (THC) น้อยกว่า 0.3% การปลูกระยะห่างระหว่างต้นจะแคบ เพราะปลูกเพื่อต้องการเส้นใยเพียงอย่างเดียว[1],[5]

ในขณะที่ต้นกัญชา (Marijuana ชื่อวิทยาศาสตร์ Cannabis sativa L. Subsp. indica (Lam.) E. Small & Cronquist) จะมีความสูงไม่ถึง 2 เมตร ปล้องหรือข้อสั้น แตกกิ่งก้านมากและแตกกิ่งเป็นแบบสลับ เปลือกไม่เหนียว ลอกได้ยาก ให้เส้นใยสั้นมีคุณภาพต่ำ แผ่นใบเป็นสีเขียวถึงเขียวจัด ใบมีประมาณ 5-7 แฉก การเรียงตัวของใบจะชิดกัน เมื่อออกดอกจะมียางที่ช่อดอกมาก เมล็ดมีขนาดเล็ก ผิวเมล็ดมันวาว ใบเมื่อนำมาสูบจะมีกลิ่นหอมคล้ายหญ้าแห้ง มีสาร (tetrahydrocannabinol (THC) ประมาณ 1-10% การปลูกระยะห่างระหว่างต้นจะกว้าง เพราะปลูกเพื่อต้องการใบ[1],[5]

สรรพคุณของกัญชง

  1. ใบมีสรรพคุณเป็นยาบำรุงโลหิต (ใบ)[5]
  2. ช่วยทำให้รู้สึกผ่อนคลาย สดชื่น ช่วยให้นอนหลับสบาย ช่วยรักษาอาการวิงเวียนศีรษะ ปวดศีรษะหรือไมเกรน และช่วยแก้กระหาย (ใบ)[5]
  3. ใช้รักษาโรคท้องร่วง โรคบิด (ใบ)[5]
  4. ภูมิปัญญาของชาวม้งจะใช้เมล็ดสดเป็นยาสลายนิ่ว โดยนำมาเคี้ยวสด ๆ (เมล็ด)[1]
  5. ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด คลายกล้ามเนื้อ รักษาโรคเกาต์ (ใบ)[5]


ประโยชน์ของกัญชง

  1. เปลือกจากลำต้นให้เส้นใยเพื่อนำไปใช้ทำเป็นเส้นด้ายและเชือก ใช้สำหรับการทอผ้า ทำเครื่องนุ่งห่ม ฯลฯ[1] นอกจากนี้ยังใช้ในพิธีกรรมต่าง ๆ และใช้เป็นรองเท้าของคนตายเพื่อเดินทางไปสู่สวรรค์ ใช้ทำเป็นด้ายสายสิญจน์ในพิธีกรรมต่าง ๆ และใช้ในพิธีอัวเน้งหรือพิธีเข้าทรง ซึ่งเป็นงานประเพณีสำคัญของชาวม้ง เส้นใยจากต้นกัญชงนั้นมีความผูกพันกับวิถีชีวิตของคนม้ง[4]
  2. เนื้อของลำต้นที่ลอกเปลือกออกแล้วสามารถนำมาผลิตเป็นกระดาษได้[1]
  3. แกนของต้นกัญชงจะมีคุณสมบัติในการดูดซับกลิ่น น้ำ หรือน้ำมันได้ดี ในต่างประเทศนิยมนำไปผลิตเป็นพลังงานชีวมวลในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ถ่านไม้, Alcohol, Ethanol, Methanol นอกจากนี้ แกนกัญชงยังถูกนำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อการตกแต่งอาคารและเฟอร์นิเจอร์อีกด้วย[5]
  4. เมล็ดใช้เป็นอาหารของคนและนก เมล็ดกัญชงที่เก็บได้สามารถนำมาสกัดเอาน้ำมันมาใช้ในการปรุงอาหารได้ ซึ่งจากการศึกษาก็พบว่า ในน้ำมันจากเมล็ดนั้นมีโอเมก้า3 สูงมาก นอกจากนี้ยังมีโอเมก้า 6, โอเมก้า 9, linoleic acid, alpha- และ gamma-linolenic acid และสารในกลุ่มวิตามิน เช่น วิตามินอี ซึ่งเมื่อบริโภคแล้วจะมีประโยชน์ต่อการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด และช่วยลดการเกิดโรคมะเร็งในร่างกายได้อีกด้วย[1],[2]
  5. น้ำมันจากเมล็ดสามารถไปผลิตเป็นน้ำมันซักแห้ง ทำสบู่ เครื่องสำอาง ครีมกันแดด แชมพู สบู่ โลชั่นบำรุงผิว ลิปสติก ลิปบาล์ม แผ่นมาส์กหน้า หรือแม้กระทั่งเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง และถูกพัฒนาเป็นตำรับครีมน้ำมันกัญชงที่ให้ความชุ่มชื้นและช่วยบำรุงผิวแห้งเพื่อรักษาโรคผิวแห้งคันและสะเก็ดเงินที่ได้ผลเป็นอย่างดี[2],[5]
  6. เมล็ดนอกจากจะให้น้ำมันแล้ว ยังพบว่ามีโปรตีนสูงมากอีกด้วย โดยสามารถนำมาใช้ในการทำผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ได้มากมาย เช่น เนย ชีส เต้าหู้ โปรตีนเกษตร นม ไอศกรีม น้ำมันสลัด อาหารว่าง อาหารเสริม ฯลฯ หรือผลิตเป็นแป้งทดแทนถั่วเหลืองได้เป็นอย่างดี ซึ่งในอนาคตอาจใช้เป็นทางเลือกในการบริโภคแทนถั่วเหลืองซึ่งเป็นพืช GMOs ก็เป็นได้[1],[5]
  7. ในส่วนของใบก็สามารถนำไปใช้ทำประโยชน์ได้หลายอย่าง ตั้งแต่เป็นอาหาร ยารักษาโรค เครื่องสำอาง รวมไปถึงการนำใบมาเป็นชาเพื่อสุขภาพ, นำมาเป็นผงผสมกับสารอาหารอื่น ๆ เพื่อผลิตเป็นอาหารเสริม, ผลิตเป็นอาหารโดยตรงอย่างเส้นพาสต้า คุกกี้ หรือขนมปัง, ใช้ทำเบียร์, ไวน์, ซ้อสจิ้มอาหาร ฯลฯ[3],[5] และยังใช้ประโยชน์โดยนำมาสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหยเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอาง ที่มีคุณสมบัติช่วยดูแลผิวพรรณ ทำให้ผิวชุ่มชื้น เหมาะกับผิวแพ้ง่าย ผิวบอบบาง[5]
  8. ในประเทศญี่ปุ่นมีการปลูกต้นกัญชงเพื่อกำจัดกัมมันตภาพรังสีให้สลายตัวที่จังหวัด Fugushima และสารกัมมันตภาพรังสีรั่วจากโรงงานไฟฟ้านิวเคลียที่ระเบิดจากสึนามิ ซึมลงดินจนไม่สามารถทำการเกษตรได้[3]
  9. กัญชงจัดเป็นเส้นใยมงคลที่ชาวญี่ปุ่นนิยมนำมาตัดกิโมโน เพราะเป็นผ้าที่มีความทนทานนับร้อยปี[3                                          ประโยชน์ของเส้นใยกัญชงกัญชงให้ผลผลิตมากกว่าปลูกฝ้าย มีคุณภาพมากกว่า และใช้แรงงานในการปลูกน้อยกว่า เพราะไม่ต้องพรวนดินหรือให้ปุ๋ย ไม่ต้องใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืช ซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม การเก็บต้นกัญชงมาใช้ประโยชน์ในการผลิตเส้นใยนั้นจะเก็บในระยะที่ต้นเจริญเติบโตเต็มที่แต่ยังไม่ออกดอก แปลงส่วนที่เหลือจะปล่อยไว้ให้ออกดอกและเมล็ดเพื่อใช้ในการทำพันธุ์ต่อไป และเนื่องจากเป็นพืชอายุสั้น จึงสามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี โดยปลูกทีละน้อยเพื่อเก็บรวบรวมไว้ทำเส้นใยทอเป็นผ้า และกว่าจะนำเส้นใยมาทอได้นั้นก็ต้องผ่านกระบวนการหลายขั้นตอน เริ่มตั้งแต่การตัดต้นกัญชงมาตากแห้ง แล้วนำมาลอกเปลือกออกจากต้นช่วงที่มีอากาศชื้นหรือหน้าฝน เพราะจะช่วยทำให้การลอกเปลือกเป็นไปอย่างมีคุณภาพไม่ขาดตอน จากนั้นก็นำมาต่อให้ยาวแล้วปั่นและม้วนให้เป็นเส้นก่อนนำไปต้มในน้ำเดือดที่ผสมกับขี้เถ้า เพื่อช่วยให้เส้นใยนุ่มและเหนียว จากนั้นก็นำไปซักในน้ำเปล่า ก็จะได้เส้นด้ายที่มีความเหนียวทนทาน[1                                                          
  10. ต้นกัญชง          เส้นใยกัญชงนั้นจัดว่าเป็นเส้นใยที่มีคุณภาพสูงมาก เพราะมีคุณสมบัติที่แข็งแรงกว่าผ้าฝ้าย สามารถดูดซับความชื้นได้ดีกว่าไนลอน และให้ความอบอุ่นยิ่งกว่าลินิน จึงเหมาะนำมาใช้ทำเป็นเครื่องนุ่งห่มเป็นอย่างมาก เพราะเมื่อสวมในช่วงอากาศร้อนจะให้ความเย็นสบาย ถ้าสวมใส่ในหน้าหนาวจะให้ความอบอุ่น เพราะช่วยดูดความร้อน ดูดกลิ่น และสารพิษจากร่างกายที่ขับออกมาในรูปของเหงื่อได้ดี อีกทั้งผ้าที่ได้ก็บางเบาสวมใส่ได้สบาย ไม่ระคายผิว ให้สัมผัสอ่อนนุ่ม มีความยืดหยุ่นดี ทนทานต่อการซัก ยิ่งซักยิ่งนุ่ม ไม่มีกลิ่นอับชื้นและไม่ขึ้นราแม้อยู่ในที่อับชื้น[1]
    งานวิจัยของสถาบันฟิสิกส์และวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ประเทศจีน พบว่า ผ้าที่ทอจากเส้นใยกัญชง แม้จะเป็นการทอด้วยเส้นใยกัญชงเพียงครึ่งหนึ่งก็สามารถช่วยป้องกันรังสี UV ได้สูงถึง 95% (ถ้าทอทั้งผืนจะป้องกันได้ 100%) ในขณะที่เสื้อผ้าที่ทอด้วยผ้าประเภทอื่นจะป้องกันรังสี UV ได้เพียง 30-50% เท่านั้น และเส้นใยกัญชงที่ทำให้แห้งสนิทจะมีคุณสมบัติเป็นฉนวนกันไฟฟ้า มีค่าความต้านทานไฟฟ้าที่น้อยที่สุดก็ยังอยู่ที่ 30% ซึ่งมากกว่าเส้นใยฝ้าย ส่วนการทดสอบผ้าที่ทอด้วยเส้นใยกัญชงในสภาพความร้อนสูงถึง 370 องศาเซลเซียส ก็พบว่าไม่ได้ทำให้คุณสมบัติด้านสีเปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใด ดังนั้นมันจึงเหมาะที่จะนำมาผลิตเป็นกระโจมพักแรม ชุดคลุมสำหรับผู้ปฏิบัติงานเฉพาะกิจ วัสดุตกแต่งภายใน และอื่น ๆ อีกมากมาย พร้อมกันนี้ภายในเส้นใยมีออกซิเจนขังอยู่ตามรูต่าง ๆ มากพอสมควร จึงทำให้แบคทีเรียประเภท Anaerobic Bacteria ไม่สามารถเติบโตได้ นอกจากนี้เส้นใยกัญชงยังมีส่วนประกอบของสารที่เอื้อประโยชน์กับสุขภาพ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ จะไม่มีโรคพืชหรือแมลงชนิดใดที่สามารถทำลายต้นกัญชงได้เลย เนื้อสด ๆ ที่ห่อด้วยผ้าทอจากเส้นใยกัญชงจะคงความสดและอยู่ได้นานมากกว่าเป็นสองเท่าของปกติ รองเท้าที่ทำจากเส้นใยกัญชง จะป้องกันเท้าของคุณจากโรคเหน็บชาและโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อราได้ และยังช่วยป้องกันสัตว์พิษกัดต่อยได้เป็นอย่างดี, ไส้กรอกที่ไม่ได้ห่อหุ้มอย่างมิดชิดด้วยผ้ากัญชงมักจะเน่าเสียได้โดยง่าย, วัสดุสำหรับธนบัตรมักทำมาจากเส้นใยกัญชง ฯลฯ ผลิตภัณฑ์ที่ทอจากเส้นใยกัญชงจึงเป็น "สินค้าปกป้องสิ่งแวดล้อม" และเหมาะอย่างยิ่งสำหรับคนยุคใหม่ที่รักษาและห่วงใยธรรมชาติอย่างแท้จริง[3]           โดยได้มีการทำนายไว้ว่า ในอนาคตเส้นใยจากธรรมชาติเหล่านี้จะเข้ามาทดแทนเส้นใยเคมีทั้งหมดในอนาคต เนื่องจากปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ส่วนประโยชน์อื่น ๆ ของเส้นใยกัญชงก็เช่น ใช้ฟั่นเป็นเชือก, ใช้ทำเสื้อเกราะกันกระสุน, ทำกระเป๋าหรือรองเท้า, เฟอร์นิเจอร์, ซีเมนต์, วัสดุบอร์ด, อุตสาหกรรมหนัก, ชิ้นส่วนเครื่องยนต์, ข้อต่อจักรยาน, วัสดุทดแทนไม้เนื้อแข็ง, ฉนวนกันความร้อน, วัสดุกันความชื้น, แม้พิมพ์, พรม ฯลฯ[1],[5]

    อนาคตของกัญชง

    ในปัจจุบันประเทศไทยยังจำแนกกัญชงเป็นพืชเสพติดประเภท 5 เช่นเดียวกับกัญชา ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 เนื่องจากสารสำคัญที่มีอยู่ในพืชกลุ่มนี้ คือ tetrahydrocannabinol (THC), Cannabinol (CBN) และ Cannabidiol (CBD) ซึ่ง THC เป็นสารเสพติดที่ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาททำให้ผู้เสพมีอาการตื่นเต้น ช่างพูด หัวเราะตลอดเวลา ส่วนสาร CBD เป็นสารต้านการออกฤทธิ์ของสาร THC ซึ่งในกัญชงนั้นจะมีปริมาณของสาร THC ต่ำมาก และมีปริมาณของสาร CDB สูงกว่าสาร THC ส่วนกัญชานั้นจะมีปริมาณของสาร THC สูง (ประมาณ 1-10%) และปริมาณของสาร THC ก็ยังมากกว่า CBD อีกด้วย[2]

    จึงทำให้ในหลาย ๆ ประเทศอนุญาตให้มีการปลูกต้นกัญชงได้อย่างถูกกฎหมาย แต่ต้องควบคุมไม่ให้พืชที่ปลูกมีสารเสพติด (THC) สูงกว่าปริมาณที่กำหนด อย่างในประเทศทางยุโรปจะกำหนดให้มีสาร THC ในกัญชงได้ไม่เกิน 0.2% ส่วนในประเทศแคนาดากำหนดให้มีไม่เกิน 0.3% และในประเทศออสเตรเลียกำหนดให้มีไม่เกิน 0.5-1% เป็นต้น แต่สำหรับประเทศไทยนั้นยังไม่มีเกณฑ์หรือมาตรการควบคุม เพราะสภาพแวดล้อมที่ปลูกนั้นมีผลต่อปริมาณของสาร THC โดยตรง และจากสภาพภูมิอากาศในประเทศไทยที่ค่อนข้างร้อนจึงอาจทำให้ปริมาณของสาร THC ในกัญชงที่ปลูกนั้นมีปริมาณค่อนข้างสูง[2]               ซึ่งจากการศึกษาของศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์เชียงใหม่ ที่ได้ทำการทดลองปลูกต้นกัญชงจำนวน 9 สายพันธุ์ โดยคัดเลือกสายพันธุ์ท้องถิ่นและสายพันธุ์จากต่างประเทศ ทำการปลูกใน 6 สภาพแวดล้อมและที่ระดับความสูงต่างกัน และปลูกในเดือนมิถุนายนซึ่งเป็นช่วงที่มีแสงแดดจัดและช่วงยาว ผลการทดลองพบว่า กัญชงทุกสายพันธุ์ที่นำมาปลูกจะมีปริมาณของสาร THC และ CBD เพิ่มขึ้นด้วยเมื่อต้นมีอายุมากขึ้นและจะมีมากที่สุดในระยะออกดอก (ดอกและใบเพศผู้จะมีปริมาณสูงสุด) โดยต้นกัญชงที่มีอายุ 60 วัน จะมีสาร THC 0.550-0.722%, ต้นอายุ 90 วัน จะมีสาร THC 0.754-0.939% มี CBD 0.361-0.480%, ต้นที่อยู่ในระยะออกดอกจะมีสาร THC 1.035-1.142% มี CBD 0.446-0.509% และผลการทดลองยังพบว่า ปริมาณของสาร THC นั้นจะมีแนวโน้มลดลงเมื่อพื้นที่ปลูกมีความสูงจากระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้น โดยสรุปคือปริมาณของสาร THC จะมีความสัมพันธ์กับอายุของต้น ความสูงของพื้นที่ที่เพาะปลูก สายพันธุ์ที่ใช้ปลูก และความยาวของเส้นรอบวงของลำต้น ส่วนปริมาณของสาร CBD จะมีความสัมพันธ์กับอายุของต้น ความสูงของพื้นที่ที่เพาะปลูก และสายพันธุ์ที่ใช้ปลูกเท่านั้น (ข้อมูลจาก : ประภัสสร ทิพย์รัตน์ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์เชียงใหม่ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข)
    ด้วยเหตุนี้จึงอาจทำให้กัญชงที่ปลูกนั้นเป็นพืชที่ให้สารเสพติดไม่ต่างจากกัญชา แต่ในอนาคตก็ไม่แน่นะครับ ประเทศไทยอาจมีการส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาเพาะปลูกต้นกัญชงได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายก็เป็นได้ครับ เพราะเป็นพืชเศรษฐกิจสำหรับอุตสาหกรรมเส้นใย อาหารและเครื่องสำอาง ที่สามารถทำรายได้ให้กับประเทศได้อย่างมหาศาล[2]         
    เอกสารอ้างอิง
    1. สำนักงานเกษตรอำเภอพบพระ จังหวัดตาก.  “มารู้จัก "กัญชง" กันเถอะ...”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.tak.doae.go.th.  [20 มิ.ย. 2015].
    2. ผู้จัดการออนไลน์.  “สวยปิ๊ง! ด้วย "กัญชงจากกัญชา" ผลงานวิจัย จาก มช.”.  ( ทีมนักวิจัยจากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.manager.co.th.  [20 มิ.ย. 2015].
    3. พันทิปดอทคอม.  “ความมหัศจรรย์ของผ้าทอจากเส้นใยต้นกัญชง”.  (by ตาลโตน).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : pantip.com.  [20 มิ.ย. 2015].
    4. สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ (NNT).  “ททท.ตาก ร่วมกับอุทยานแห่งชาติน้ำตกพาเจริญ นำพี่น้องชาวไทยภูเขาเผ่าม้ง โชว์อลังการทอผ้าใยกัญชง สืบสานวัฒนธรรมชาวม้ง บูชาเทพเจ้า หรือ เย่อโซ๊ะ”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : thainews.prd.go.th.  [20 มิ.ย. 2015].
    5. ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน).  “เฮมพ์ (กัญชง)”.  เข้าถึงได้จาก : www.sacict.net.  [20 มิ.ย. 2015].