วันอาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ชาวกรีกโบราณ สอนลูกหลานกันมา 2500 ปีแล้วว่า :
The best thing is the most difficult.
คือ สิ่งดีสุด นั้นยากที่สุด
อย่าไปหวังอะไรง่ายๆ ฉาบฉวย

คนจีนสอนลูกหลานต่อกันมาหลายร้อยปีว่า :
เหงื่อไม่ตก อย่าหวังร่ำรวย
อย่าไปคิดรวยทางลัด

คนญี่ปุ่นสอนลูกหลานว่า :
การทำงานรับใช้ผู้อื่น คือเกียรติยศ
คนทำงานทุกคนมีค่า คนไม่ทำงานสิ ไร้ค่า

แต่มี บางประเทศ สอนลูกหลานว่า :
ตั้งใจเรียนจะได้ทำงานสบายๆ
เรียนสูงๆ จะได้เป็นเจ้าคนนายคน

ก็เลยมีคนเรียนเพื่อปริญญากันเยอะ ไม่ได้เรียนเพราะอยากรู้
กวดวิชากันมาก ก็เพราะอยากสอบแข่ง ไม่ได้อยากรู้

พอจบมาก็อยากได้เงินเดือนสูงๆ แต่ไม่ค่อยชอบทำงาน
เคารพกันที่ตำแหน่ง มากกว่าคุณค่าของงาน ก็เลยยอมเสียศักดิ์ศรี วิ่งเต้น ทุจริต เพื่อหาตำแหน่ง นำไปสู่ปัญหาคอรัปชั่นตราบจนทุกวันนี้  คนทั่วไปก็ติดสินบนกันจนเคยชิน ไม่มีบทลงโทษทางสังคมกับคนทำผิด

ทัศนคติ แบบนี้ ยังมีปรากฏจนทุกวันนี้

เพราะความคิดคำสั่งสอนแบบนี้แหละโครงสร้างการศึกษาไทยเราท่านจึงได้เรียนจากผู้มีปริญญา แต่ไม่ได้เรียนจากผู้รู้จริง ครับท่าน เรายังหวังได้อยู่ใหมครับกับการศึกษาของประเทศนี้
"ลอกต่อเขามานะคะ"ขอนุญาตส่งต่อ

วันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ประวัติคริสต์มาส

เรื่องน่ารู้ ของWhite Christmas หรือ “คริสต์มาสอีฟ” 24 ธันวาคม
       วันที่ 24 ธันวาคม หรือที่รู้จักกันว่า “คริสต์มาสอีฟ” โดยในวันนี้ ชาวคริสต์จำนวนมากจะเดินทางไปร่วมพิธีนมัสการ ตามโบสถ์คาทอลิค ทำกันในเวลาเที่ยงคืน หรือที่ทางเยอรมนีเรียกว่า “ไวฮนาคท” (Weihnacht) หรือมีความหมายเดียวกันกับคำว่า “White Christmas” ซึ่งถือว่าเป็น “คืนอันศักดิ์สิทธิ์”
     นอกจากนี้ในคืนก่อน วันนี้จะมีงานแครอลลิง ซึ่งจะมีเด็กๆ ไปร้องเพลงตามบ้าน ในคืนวันคริสต์มาส ผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์ จะมารวมตัวกันที่โบสถ์เพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น การแสดง ร้องเพลง และ ในวันที่ 25 ธันวาคม ก็จะมีการเฉลิมฉลองกันตามบ้านเรือน และถือเป็นโอกาสดีที่จะมีการเยี่ยมเยียนระหว่างญาติพี่น้อง ส่วนในตอนกลางคืนทุกคนจะพร้อมหน้าเพื่อมาร่วมรับประทานอาหารค่ำและอาหารมื้อสำคัญบนโต๊ะนั่นก็คือไก่งวง
    ไก่งวงเริ่มแพร่ไปสู่อังกฤษเมื่อวิลเลียม สทริกแลนด์ ซื้อไก่งวงหกตัวจากพ่อค้าชาวอินเดียนแดงในเม็กซิโก และนำไปขายในเมืองบริสทอล ประเทศอังกฤษเมื่อค.ศ.1526 พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่เจ็ดทรงโปรดเสวยไก่งวงฉลองเทศกาลและชาวอังกฤษก็ปฏิบัติตาม แต่ยังถือเป็นของหรูหราจนถึงทศวรรษ 1650
      ส่วนใน วันที่ 26 ธันวาคมจะเป็น “วันบ็อกซิงเดย์” หรือวันเปิดกล่องของขวัญ ซึ่งวันนี้ในอดีตจะเป็นเป็นวันที่ศิษยาภิบาลเคยเปิด "กล่องทาน" ในโบสถ์ และแจกเงินให้สมาชิกที่ยากจน ต่อมาชาวอังกฤษก็ให้ของขวัญแก่พวกคนใช้ และเจ้าหน้าที่ต่างๆ เพื่อเป็นการตอบแทนที่พวกเขาได้ทำงานและจัดการเฉลิมฉลองในช่วงคริสต์มาส แต่ถ้าวันที่ 26 ธันวาคมตรงกับวันเสาร์หรือวันอาทิตย์ หากใครเดินไปตามห้างสรรพสินค้าใหญ่ๆในต่างประเทศหรือในไทยเองก็ดีในวันนี้ก็คงจะเห็นต้นสนที่ประดับประดาด้วยไฟหลากสีสัน หรืออาจจะพบกับลุงหนวดเคราสีขาวโพลนในชุดสีแดงพร้อมกับหอบหิ้วถุงใบใหญ่นั่งบนลากเลื่อนที่มีกวางหลายตัวอยู่ข้างหน้า พร้อมกับเพลงที่คุ้นหูให้ได้ยินตลอดเวลา ภาพที่พบข้างต้นก็จะรู้ได้ว่าเทศกาลคริสต์มาสได้มาถึงแล้ว
       แต่หลายคนก็คงจะสงสัยกันว่าแล้วคริสต์มาสคืออะไรกันแน่ แล้วจะทำอะไรกันบ้าง คริสต์มาสมีความเป็นมาอย่างไร  เลยขอรับอาสาไขข้อข้องใจเกี่ยวกับเทศกาลคริสต์มาสเพื่อให้รู้จักกับเทศกาลแห่งความสุขนี้กันมากขึ้น
      วันคริสต์มาสคืออะไร?
       วันคริสต์มาสคือ การฉลองวันประสูติของพระเยซู ผู้เป็นศาสดาสูงสุดของชาวคริสต์ทั่วโลก เป็นวันฉลองที่มีความสำคัญ และมีความหมายมากที่สุดวันหนึ่ง เพราะชาวคริสต์ถือว่า พระเยซู มิใช่เป็นแต่เพียงมนุษย์ธรรมดาๆ ที่มาเกิดเหมือนเด็กทั่วไป แต่พระองค์เป็นบุตรของพระเจ้าผู้สูงสุด และมีพระธรรมชาติเป็นพระเจ้า และเป็นมนุษย์ในพระองค์เอง การบังเกิดของพระองค์ จึงเป็นเหตุการณ์พิเศษ ที่ไม่เหมือนใคร และไม่มีใครเหมือนด้วย โดยพระองค์ได้ลงมาเพื่อเผยแพร่สัจจะธรรมให้กับมวลมนุษยชาติ
       ชาวคริสต์จะทำอะไรกันบ้างในวันคริสต์มาส?
       ส่วนการเฉลิมฉลองเทศกาลคริสต์จะเริ่มมีขึ้นตั้งแต่ต้นเดือนธันวาคม โดยที่ตามโบสถ์ ห้างสรรพสินค้า และตามบ้านเรือนก็จะประดับประดาด้วยต้นไม้และหลอดไฟสีให้สวยงามเพื่อให้สมกับเทศกาลสำคัญทางศาสนา แต่สำหรับพิธีกรรมนั้นจะมีเริ่มมีขึ้นในคืนวันที่ 24 ธันวาคม หรือที่รู้จักกันว่า “คริสต์มาสอีฟ” โดยในวันนี้ ชาวคริสต์จำนวนมากจะเดินทางไปร่วมพิธีนมัสการ ตามโบสถ์คาทอลิค ทำกันในเวลาเที่ยงคืน หรือที่ทางเยอรมนีเรียกว่า “ไวฮนาคท” (Weihnacht) หรือมีความหมายเดียวกันกับคำว่า "White Christmas" ซึ่งถือว่าเป็น “คืนอันศักดิ์สิทธิ์”
       นอกจากนี้ในคืนก่อนวันนี้จะมีงานแครอลลิง ซึ่งจะมีเด็กๆ ไปร้องเพลงตามบ้าน ในคืนวันคริสต์มาส ผู้ที่นับถือศาสนาคริสต์ จะมารวมตัวกันที่โบสถ์เพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น การแสดง ร้องเพลง
        และในวันที่ 25 ธันวาคมก็จะมีการเฉลิมฉลองกันตามบ้านเรือน และถือเป็นโอกาสดีที่จะมีการเยี่ยมเยียนระหว่างญาติพี่น้อง ส่วนในตอนกลางคืนทุกคนจะพร้อมหน้าเพื่อมาร่วมรับประทานอาหารค่ำและอาหารมื้อสำคัญบนโต๊ะนั่นก็คือไก่งวง
       ไก่งวงเริ่มแพร่ไปสู่อังกฤษเมื่อวิลเลียม สทริกแลนด์ ซื้อไก่งวงหกตัวจากพ่อค้าชาวอินเดียนแดงในเม็กซิโก และนำไปขายในเมืองบริสทอล ประเทศอังกฤษเมื่อค.ศ.1526 พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่เจ็ดทรงโปรดเสวยไก่งวงฉลองเทศกาลและชาวอังกฤษก็ปฏิบัติตาม แต่ยังถือเป็นของหรูหราจนถึงทศวรรษ 1650
       ส่วนในวันที่ 26 ธันวาคมจะเป็น “วันบ็อกซิงเดย์” หรือวันเปิดกล่องของขวัญ ซึ่งวันนี้ในอดีตจะเป็นเป็นวันที่ศิษยาภิบาลเคยเปิด "กล่องทาน" ในโบสถ์ และแจกเงินให้สมาชิกที่ยากจน ต่อมาชาวอังกฤษก็ให้ของขวัญแก่พวกคนใช้ และเจ้าหน้าที่ต่างๆ เพื่อเป็นการตอบแทนที่พวกเขาได้ทำงานและจัดการเฉลิมฉลองในช่วงคริสต์มาส แต่ถ้าวันที่ 26 ธันวาคมตรงกับวันเสาร์หรือวันอาทิตย์ วันบ็อกซิ่งเดย์ก็จะเลื่อนไปเป็นวันจันทร์แทน
      ทำไมต้องมีต้นคริสต์มาส?
       เพื่อนๆ คงจะเห็นแล้วว่าสัญลักษณ์ประจำวันคริสต์มาสที่สำคัญก็คือต้นสนวันคริสต์มาส หรือต้นไม้ทรงสามเหลี่ยมที่จะมีตุ๊กตาและลูกแอปเปิ้ลเล็กติดอยู่ ซึ่งต้นไม้นี้เป็นสัญลักษณ์ของต้นไม้ต้องห้ามที่อยู่ในสวรรค์สมัยอาดัมกับอีฟที่ทั้งสองคนไปหยิบผลไม้มากิน และทำบาป ไม่เชื่อฟังพระเจ้า
       ในราวศตวรรษที่ 11 ชาวคริสต์มีการแสดงละครที่แสดงถึงความหมายของต้นคริสต์มาสโดยมีต้นไม้ต้นหนึ่งวางไว้ตรงกลางฉากซึ่งหมายถึงต้นไม้ในสวนสวรรค์ต้นนี้นั่นเอง ต้นไม้ที่ใช้ในการแสดงก็มักจะเป็นต้นสนเนื่องจากเป็นต้นไม้ที่หาได้ง่ายในประเทศเหล่านั้นและมีการแสดงต่อเนื่องกันมาเป็นเวลาหลายร้อยปี จนถึงประมาณศตวรรษที่ 15 พระสังฆราชในหลายประเทศได้ห้ามไม่ให้มีการแสดง เนื่องจากการแสดงตอนหลังๆนั้นกลายเป็นการเล่นเหมือนลิเก ล้อชาวบ้าน ผู้ปกครองบ้านเมืองและศาสนา จากนั้นชาวบ้านก็เริ่มนำเอาต้นไม้มาประดับไว้ในบ้านในช่วงเทศกาลคริสต์มาสและมีการประดับตกแต่งให้สวยงามอย่างที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันนี้
       นอกจากนั้น ชาวเยอรมันยังมีประเพณีอีกอย่างหนึ่งคือ มีการจุดเทียนหลายเล่มเป็นรูปปิรามิด ไว้ตลอดคืนคริสต์มาส โดยมีดาวของดาวิดที่ยอดปิรามิด ซึ่งประเพณีที่จะแขวนของขวัญและขนม ก็ได้รวมกับประเพณีของชาวเยอรมันนี้ มาตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 โดยเอาเทียนมาไว้ที่ต้นไม้ เป็นรูปทรงปิรามิด นี่เป็นที่มาของประเพณีปัจจุบัน ที่มีการแขวนของขวัญ และไฟกระพริบไว้ที่ต้นคริสต์มาส และมีดาวของดาวิดไว้ที่สุดยอด ประเพณีนี้ เป็นที่นิยมชมชอบของชาวตะวันตกอยู่มาก
      คริสต์มาส  กับ  Xmas  ต่างกันอย่างไร ?
       คำว่าคริสต์มาสนั้นมาจากภาษาอังกฤษโบราณว่า Christes Maesse ที่แปลว่า บูชามิสซาของพระคริสตเจ้า เพราะการร่วมพิธีมิสซา เป็นประเพณีสำคัญที่สุด ที่ชาวคริสต์ถือปฏิบัติกันในวันคริสต์มาส คำว่า Christes Maesse พบครั้งแรกในเอกสารโบราณ เป็นภาษาอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1038 และคำนี้ก็แปรเปลี่ยนมาเป็นคำว่าคริสต์มาส
       ส่วนคำว่า Xmas ก็มาจากอักษรตัวแรกของชื่อพระเยซูคริสต์ในภาษากรีก ที่มีชื่อว่า “Xristos” โดยคำว่า Xmas เริ่มใช้ครั้งแรกในยุโรปเมื่อศตวรรษที่ 15 และคำอวยพรในวันนี้คือ Merry Christmas ซึ่งคำว่า Merry ในภาษาอังกฤษโบราณ แปลว่า สันติสุขและความสงบในจิตใจ
       ลุงซานต้าเป็นใคร ?
      
ที่จริงแล้ว ซานตาคลอส แทบจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเทศกาลนี้เลย ชื่อซานตาคลอส มาจากชื่อนักบุญนิโคลาส ซึ่งเป็นนักบุญที่ชาวฮอลแลนด์นับถือ เป็นนักบุญองค์อุปถัมภ์ของเด็กๆ นักบุญองค์นี้ เป็นสังฆราชของไมรา (อยู่ในประเทศตุรกี ปัจจุบัน) มีชีวิตอยู่ราวศตวรรษที่ 4 มีฐานะร่ำรวยและใจบุญ
        เมื่อชาวฮอลแลนด์กลุ่มหนึ่ง อพยพไปอยู่ในสหรัฐฯ ยังรักษาประเพณีนี้ไว้ เพื่อเป็นการระลึกถึงวันที่ท่านได้เสียชีวิตลงนั้น ถือว่าเป็นวันสำคัญ ของคนยุโรปบางประเทศ ซึ่งตรงกับวันที่ 6 ธันวาคม ซึ่งก่อนที่จะถึงวันที่ 6 ธันวาคม ของทุกๆ ปีเด็กๆ จะนำถุงเท้ามาห้อยไว้ และในตอนเช้า พวกเขาจะรีบไปดูว่า นักบุญนิโคลลาสนั้น ให้อะไรแก่เขา ประเพณีนี้ จึงเริ่มเป็นที่รู้จัก และแพร่หลายไปในอเมริกา
       แต่มีการเปลี่ยนแปลงบางอย่างคือ ชื่อนักบุญนิโคลาส ก็เปลี่ยนเป็นซานตาคลอส และแทนที่จะเป็นสังฆราช ซึ่งเป็นนักบุญองค์นั้น ก็กลายเป็นชายแก่ที่อ้วน ใส่ชุดสีแดง อาศัยอยู่ที่ขั้วโลกเหนือ มีเลื่อนเป็นพาหนะ มีกวางเรนเดียร์ลาก และจะมาเยี่ยมเด็กทุกคนในโลกนี้ ในโอกาสคริสต์มาส โดยลงมาทางปล่องไฟของบ้าน เพื่อเอาของขวัญมาให้เด็กเหล่านั้น 
      คำว่า คริสต์มาส
ภาษาอังกฤษเขียนว่า Christmas ดังนั้นอย่าลืม "ต์" อยู่ที่คำว่า คริสต์ (Christ) ไม่ใช่คำว่า "มาส" (Mas)
       Christmas มาจากภาษาอังกฤษโบราณว่า Christes Maesse แปลว่า บูชามิสซาของพระคริสตเจ้า โดยพบคำนี้ครั้งแรกในเอกสารโบราณในปี ค.ศ.1038 ภายหลังแปรเปลี่ยนมาเป็นคำว่า Christmas ประวัติความเป็นมาของวันคริต์มาส ซึ่งเป็นวันเกิดของพระเยซูนั้น ตามหลักฐานในพระคัมภีร์บันทึกไว้ว่า พระเยซูเจ้าประสูติในสมัยที่จักรพรรดิซีซ่าร์ ออกัสตัส แห่งโรมัน ซึ่งทรงสั่งให้จดทะเบียนสำมะโนครัวทั่วทั้งแผ่นดิน โดยฝ่ายคีรีนิอัส เจ้าเมืองซีเรียก็ขานรับนโยบาย
      อย่างไรก็ตามในพระคัมภีร์ ไม่ได้ระบุว่า พระเยซูประสูติวันหรือเดือนอะไร ด้านนักประวัติศาสตร์วิเคราะห์ว่า เดิมทีวันที่ 25 ธันวาคม เป็นวันที่จักรพรรดิเอาเรเลียนแห่งโรมัน กำหนดให้เป็นวันฉลองวันเกิดของสุริยเทพ โดยตั้งแต่ปีค.ศ.274 ชาวโรมันซึ่งส่วนใหญ่นับถือเทพเจ้าฉลองวันนี้เสมือนว่า เป็นวันฉลองของพระจักรพรรดิไปในตัวด้วย เพราะจักรพรรดิก็เปรียบเสมือนดวงอาทิตย์ ที่ให้ความสว่างแก่ชีวิตมนุษย์ แต่ชาวคริสต์ที่อยู่ในจักรวรรดิโรมัน รวมถึงชาวโรมันที่เปลี่ยนไปนับถือคริสต์อึดอัดใจที่จะฉลองวันเกิดของสุริยเทพ จึงหันมาฉลองการบังเกิดของพระเยซูเจ้าแทน หลังจากที่ชาวคริสต์ถูกควบคุมเสรีภาพทางศาสนาตั้งแต่ปีค.ศ.64-313 จนถึงวันที่ 25 ธันวาคม ปีค.ศ.330 ชาวคริสต์จึงเริ่มฉลองคริสต์มาสอย่างเป็นทางการและเปิดเผย
        สำหรับองค์ประกอบในงานฉลองวันคริสต์มาสมีความเป็นมาเช่นกัน เริ่มที่คำอวยพรว่า
     Merry Christmas สุขสันต์วันคริสต์มาส คำว่า Merry ในภาษาอังกฤษโบราณ แปลว่า สันติสุขและความสงบทางใจ จึงเป็นคำที่ใช้อวยพรคนอื่น ขอให้เขาได้รับสันติสุข และความสงบทางใจ เนื่องในโอกาสเทศกาลคริสต์มาส ต่อมาคือ "เพลง" ที่ใช้เฉลิมฉลองทั้งจังหวะช้าและจังหวะสนุกสนาน ส่วนใหญ่แต่งในยุคพระราชินีวิกตอเรียแห่งอังกฤษ (ค.ศ.1840-1900) ปัจจุบันแพร่หลายไปทั่วโลกโดยแปลเป็นภาษาต่างๆ มากมาย
         ประวัติ ซานตาคลอส
  ซานตาคลอส หรือ นักบุญนิโคลัส (ภาษาอังกฤษ: Santa Claus หรือ Saint Nicholas) แห่งเมืองไมรา
    นักบุญองค์นี้เป็นสังฆราช ของ ไมรา มีชีวิตอยู่ในศตวรรษที่4 ได้รับการยกย่องให้เป็นซานตาคลอสคนแรก ซานตาคลอส เป็นบุคคลที่สร้างขึ้นมาจากจินตนาการของชาวคริสต์ โดยมีแรงบันดาลใจมาจากเซนต์นิโคลัส เพราะวันหนึ่งท่านปีนขึ้นไปบนหลังคาบ้านของเด็กหญิงยากจนคนหนึ่งแล้วทิ้งถุงเงินลงไปทางปล่องไฟ บังเอิญถุงเงินหล่นไปทางถุงเท้าที่เด็กหญิงแขวนตากไว้ข้างเตาผิงพอดี
     นักบุญนิโคลาส เป็นนักบุญ ที่ชาวฮอลแลนด์นับถือว่าเป็นนักบุญอุปถัมภ์ของเด็กๆ เมื่อชาวฮอลแลนด์กลุ่มหนึ่งอพยพไปอยู่ในสหรัฐฯ ก็ยังรักษาประเพณีการฉลองนักบุญ นิโคลาส ในวันที่ 5 ธันวาคม ซึ่งหมายถึงนักบุญนี้จะ มาเยี่ยม เด็กๆ และเอาของขวัญมาให้
     เด็กอื่นๆ ที่ไม่ใช่ลูกหลานของชาวฮอลแลนด์ที่อพยพมา ก็อยากมีส่วนร่วมในประเพณีแบบนี้บ้างเพื่อรับของขวัญ ประเพณีนี้จึงเริ่มเป็นที่รู้จักและแพร่หลายไปในอเมริกา โดยมีการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง คือ ชื่อนักบุญนิโคลาสก็เปลี่ยน เป็นซานตาคลอส และแทนที่จะเป็น สังฆราชซึ่งเป็นนักบุญองค์นั้นก็กลายเป็น ชายแก่ที่รูปร่างอ้วนและดูใจดี เขามักใส่เสื้อโคทที่ทำจากขนสัตว์สีแดงสดมีคลิบสีขาวที่เอวคาดเข็มขัดหนังและรองเท้าบูทสีดำ ซานตอคลอสอาศัยอยู่ที่ ขั้วโลกเหนือ โดยมี เอลฟ์ ซึ่งเป็นมนุษย์ตัวเล็กที่ช่วยผลิตของเล่นให้เขานำไปแจกเด็กที่เป็นเด็กดีในคืนวัน คริสต์มาส ซานตาคลอสมีพาหนะเป็นเลื่อนหิมะที่ลากโดย กวางเรนเดียร์ ซึ่งสามารถบินได้ ในกลางดึกวันคริสต์มาสซานตาคลอสจะมาเยี่ยมเด็กทุกคนในโลกนี้ และจะแอบเข้าไปในบ้านที่มีเด็กดีทางปล่องไฟ เพื่อนำของขวัญไปใส่ในถุงเท้าที่แขวนรอไว้หน้าเตาผิง ให้เด็กเหล่านั้นตามความประพฤติของเขา
         ตำนานต้นคริสต์มาส
    ในสมัยโบราณ ต้นคริสต์มาส หมายถึงต้นไม้ในสวนสวรรค์ซึ่งอดัมและเอวาไปหยิบผลไม้มากิน และทำบาปไม่เชื่อฟังพระเจ้า ตั้งศตวรรษที่ 11 ชาวคิสต์แสดงละครที่หน้าวัด ถึงความหมายของคริสต์มาส และเอาต้นไม้ต้นหนึ่งไว้ตรงกลาง เพื่อประดับฉาก แสดงถึงบาปกำเนิดของอาดัมและเอวา ต้นไม้ที่ใช้เป็นต้นสน เนื่องจากเป็นต้นไม้ที่หาง่ายที่สุดในประเทศเหล่านั้น การแสดงละคร คริสต์มาสเหล่านี้มีมาเป็นเวลาช้านานหลายร้อยปี
      จนถึงศตวรรษที่ 15 พระสังฆราชหลายแห่งได้ห้ามแสดง เนื่องจากการแสดง นั้นกลายเป็นการเล่นลิเกล้อชาวบ้าน
     ผู้ปกครองบ้านเมืองและศาสนาซึ่งไม่ตรงกับบรรยากาศของการฉลอง ชาวบ้านรู้สึกเสียดาย ที่ไม่มีโอกาสดูละครสนุกๆแบบนั้นอีก จึงไปสนุกกันที่บ้านของตน โดยเอาต้นไม้มาวางไว้ที่บ้าน เพราะต้นไม้เป็นจุดเด่นในลานวัด ที่เขาเคยร่วมสนุกสนานกันหลังจากนั้น ก็เริ่มมีการแขวนลูกแอ็ปเปิ้ล และแขวนแผ่นขนมปัง เพื่อระลึกถึงศีลมหาสนิทซึ่งมีวิวัฒนาการ เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ จนในที่สุด ก็กลายเป็นขนมและของขวัญ
     นอกจากนั้นชาวเยอรมันยังมีพิธีอีกอย่างหนึ่งคือมีการจุดเทียน หลายเล่มเป็นรูปปิรามิดไว้ตลอดคืนคริสต์มาส โดยมีดาวของดาวิดอยู่ที่ยอดของปิรามิด
     ซึ่งประเพณีที่จะแขวนของขวัญ และขนม ก็ได้รวมกับประเพณีของชาวเยอรมันมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 โดยเอาเทียนมาไว้ที่ต้นไม้เป็นรูปทรงปิรามิด นี่เป็นที่มา ของประเพณ ีปัจจุบันที่มีการแขวนของขวัญและไฟกระพริบไว้ที่ต้นคริสต์มาสและมีดาวของเดวิดไว้ที่สุดยอดประเพณีนี้เป็นที่นิยมของชาวตะวันตก อยู่มาก แม้ว่าประเพณีการตั้งต้นคริสต์มาสมีความเป็นมาดังกล่าว ชาวคริสต์ในสมัยนี้ก็ยังนิยมทำกันอยู่เพราะเห็นว่ามีความหมาย ถึงพระเยซูเจ้าผู้เปรียบเสมือนต้นไม้แห่งชีวิตที่เขียวสดเสมอในทุกฤดูกาล ซึ่งหมายถึงนิรันดรภาพของพระเยซูเจ้า และนอกจาก นี้ยังหมายถึงความสว่างของพระองค์เสมือนแสงเทียนที่ส่องในความมืดทั้งยังหมายถึงความชื่นชมยินดีและความสามัคคีที่พระเยซู เจ้า ประทานให้ เพราะต้นไม้เป็นจุดรวมของครอบครัวในเทศกาลนั้ย....หามาให้อ่านโดย...pjmong...

วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2559

     ครับ ผมดูคลิป ขบวนไม้จันทร์หอม บอกตรงๆว่าเกิดความรู้สึกหดหู่เหมือนกัน พอคิดว่าเขาเอาไปทำอะไร ว่าสิ่งที่เรารัก เราเห็น เราเคยยึดมั่น กำลังเปลี่ยนจากจากกายภาพที่เราเห็นเราสัมผ้สได้จริงๆ จะเหลือแค่ความทรงจำ ที่ห่างไกลเราออกไปอีกตลอดไป จนกลายเป็นอดีตที่ถาวร ผู้ชายแมนๆอย่างเรา ที่ไม่ค่อยอ่อนไหวเรื่องแบบนี้ให้ใครเห็นบ่อยนัก ยังยอมรับว่ารู้สึก อึดอัด เศร้าหมอง หดหู่กับเขาเหมือนกัน....ผมคงเดาได้ว่า ความรู้สึกแบบนี้คงเกิดขึ้นกับคนอื่นอีกเยอะเหมือนกัน  คงต้องปลอบใจกันไปว่า ..นี่คือความจริง ที่ทุกสิ่งบนโลกใบนี้ไม่มีวันหนีพ้น แม้กระทั่งวัตถุที่ไม่มีชีวิต เพชรที่ขึ้นชื่อว่าแข็งที่สุดในโลก ยังมีวันกลายเป็นฝุ่นผง  จนสลายไปในที่สุด เหล็กกล้าที่แข็งแกร่งยังมีวันย่อยสล่ย กลับสภาพกลายเป็นเกลือ อย่างที่เขาเกิดมา แม้แต่ศาสดาของทุกศาสนาที่ สร้างบุญกุศล สร้างคุณประโบชน์ ให้กับมนุษย์มากมาย ก็ยังมีวันที่จากไป ถ้าทุกคนคิดถึงความจริงแท้นี้ได้ ก็คงจะปรับใจยอมรับ พร้อมกับยอมรับสิ่งใหม่ๆที่เข้ามาแทน และพร้อมจะดำเนินชีวิตต่อกันไปได้  แต่.....ถ้าจะรำลึกถึงพระองค์ท่านและให้ความรู้สึกว่า พระองค์ท่านอยู่เป็นกำลังใจให้เราตลอดไป ก็น่าจะมีหนทางเดียวคือ น้อมนำสิ่งที่ท่านสอน มาใช้กับชีวิตประจำวันของเรา ใครชอบเรื่องไหน ข้อไหนก็เลือกเอามา...สำหรับผม...ของนำเรื่องใหญ่ที่มีค่าที่สุดของผมมาใช้..นั่นก็คือ ...ปรัชญาการดำเนินชีวิตแบบพอเพียง  ผมตั้งใจไว้แล้วว่าจะไม่เพียงแค่นำมาใช้กับตัวเท่านั้น แต่จะตั้งกลุ่มช่วยกันรณรงค์เรื่องนี้ต่อไปจนตาย เพราะเชื่อแบบสนิทใจเลยว่า จะช่วยให้โลกใบนี้สะอาดขึ้น ความเป็นอยู่คนดีขึ้น และ.....คุณประโยชน์อื่นๆอีกมากมายต่อมนุษย์บนโลกใบนี้ทุกๆคน ..มีโอกาสจะคุยเรื่องใหญ่ และเป็นเรื่องยาวๆ ที่สำคัญเรื่องนี้ต่อไปครับ
     สุดท้ายนี้ ผมขอถือโอกาสเชิญชวนเพื่อนๆ ที่มีความคิด ความศัทธา ต่อปรัชญาข้อนี้ของพระองค์ท่าน มาช่วยกันรณรงค์ ให้คนไทยมาเริ่มใช้ชีวิต ตามปรัชญาของท่านกันมากๆครับ...ใครอยากร่วมด้วยกรุณาแจ้งมาทางส่วนตัวครับ ผมจะได้นำเข้าเป็นสมาชิกกลุ่มครับ...( ผมตั้งกลุ่มรอไว้แล้วนะครับ..) แต่...ถ้าไม่มีผู้ร่วมอุดมการณ์ ผมก็ยินดีจะทำคนเดียวไปเรื่อยๆตลอดไปครับ ... pjmong...

วันจันทร์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ข้อคิดจากวิกรม

จุดอ่อน"คนไทย" 10 ประการ โดย คุณวิกรม กรมดิษฐ์

1. คนไทยรู้จักตัวตนของเราเองต่ำมาก กล่าว คือ รู้จักหน้าที่ของตัวเองต่ำมาก โดยเฉพาะหน้าที่ต่อสังคม ต่างกับชาติที่เจริญแล้ว เขาจะมีสำนึกต่อสังคมส่วนรวมสูงมาก ของเราจะไม่คำนึงถึงส่วนรวม แต่จะเป็นประเภทมือใครยาวสาวได้สาวเอา จนทำให้เกิดวัฒนธรรมสืบทอดกันมายาวนาน โดยเฉพาะผู้ที่มีอำนาจทุกระดับชั้น จนมีคำพูดว่า ธุรกิจการเมือง ธุรกิจราชการ ธุรกิจการศึกษา ทำให้ทุกคนแสวงหาอำนาจเพื่อจะตักตวงเพราะความไม่รู้จักตัวตน ไม่รู้จักประเทศของตัวเองเช่นนี้แล้ว ทำให้ประเทศชาติของเราล้าหลังไปเรื่อย ๆ

2. การศึกษาของไทยยังไม่ทันสมัย สอนให้คนเห็นแก่ตัวมากกว่า ขาดจิตสำนึกต่อสังคม แม้แต่ภาษาคนไทยจะเก่งแต่ภาษาของตัวเอง ทำให้เราขาดโอกาสในการแข่งขันกับต่างชาติในเวทีต่าง ๆ ประเทศอื่น ๆ รู้จักคนไทยน้อยมาก เพราะคนไทยไม่กล้าแสดงออก ขี้อาย ไม่มั่นใจในตัวเอง เราจึงตามหลังชาติอื่น เพราะคุณภาพการศึกษาของเราไม่ทันสมัย จะเห็นว่าคนมีฐานะจะส่งลูกไปเรียนเมืองนอกเพื่อโอกาสที่ดีกว่า

3. คนไทยมองอนาคตไม่เป็น เท่าที่สังเกตเห็นว่าคนไทยกว่า 70% ทำ งานแบบไร้อนาคต แบบวันต่อวัน แก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปวัน ๆ น้อยนักที่จะวางแผนให้ตัวเองอย่างเป็นระบบ เป็นขั้นเป็นตอน มีเป้าหมายที่ชัดเจนในอนาคต สะสมความสำเร็จไปอย่างเป็นลำดับ หรือเป็นเพราะไม่กล้าฝัน หรือไม่มีความฝันก็ไม่แน่ใจ และชอบพึ่งสิ่งงมงาย โชคชะตา พอใจทำงานแบบตำข้าวสารกรอกหม้อ ทำให้ประสิทธิภาพของเราไม่ทันกับการแข่งขันระดับโลก

4. คนไทยไม่ค่อยจะจริงจังในความรับผิดชอบต่อหน้าที่ การรับปากของเรามักทำแบบผักชีโรยหน้า หรือเกรงใจ แต่ทำได้หรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง จากประสบการณ์ทำธุรกิจกับชาวต่างชาติจะพบว่า ประเทศที่ประสบความสำเร็จ เช่น ญี่ปุ่น หรือยุโรป คนเขาจะให้ความสำคัญกับสัญญาข้อตกลงอย่างเคร่งครัด เพราะหมายถึงความเชื่อถือในระยะยาว ซึ่งไม่สามารถประเมินเป็นมูลค่าได้ ปัจจุบันคนไทยถูกลดเครดิตในการเชื่อถือด้านนี้ลงไปเรื่อย ๆ

5. การกระจายความเจริญยังไม่เต็มที่ ประเทศของเรากระจุกตัวความเจริญเฉพาะในเมืองใหญ่ ประชากรประมาณ 60-70% ที่อยู่ห่างไกล จะขาดโอกาสในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของตัวเองและชุมชน ในต่างประเทศ การสร้างนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ห่างไกล แต่มีองค์ประกอบอื่น ๆ สนับสนุนเขาก็ลงทุน การสร้างเส้นทางคมนาคมเชื่อมต่อระหว่างภูมิภาค จะเป็นประโยชน์ ทำให้เป็นการลดต้นทุนในการดำเนินการทางธุรกิจอย่างมาก ซึ่งเป็นหน้าที่ของภาครัฐที่ต้องส่งเสริม

6. การบังคับกฎหมายไม่เข้มแข็งและดำเนินอย่างไม่ต่อเนื่อง สังคมไทยชอบทำงานแบบลูบหน้าปะจมูก ปราบปรามไม่จริงจัง อาจได้ยินกรณีการดำเนินการตามกฎหมายกับผู้มีอำนาจหรือบริวารก็ตาม จะทำแบบเอาตัวรอดไปก่อน ไม่มีมาตรฐาน ต่างกับประเทศที่เจริญแล้ว ข้อนี้กระบวนการยุติธรรมจะต้องปรับปรุง

7. สังคมไทยชอบอิจฉาตาร้อน ไม่ค่อยเป็นสุภาพบุรุษ และชอบเลี่ยงเป็นศรีธนญชัย เมื่อจนตรอก ในวงการเราจะพบกระแสของคนประเภทนี้ปะปนมากขึ้น จะเพราะเป็นเพราะสังคมเรายอมรับ หรือยกย่องคนที่มีอำนาจ มีเงิน แต่ไม่มีใครรู้ภูมิหลัง โดยเฉพาะคนที่ล้มบนฟูกแล้วไปเกาะผู้มีอำนาจ เอาตัวรอดหน้าตาเฉย คนพวกนี้ร้ายยิ่งกว่าผู้ก่อการร้ายเสียอีก เพราะทำความเสียหายต่อบ้านเมืองมากกว่า และจะเป็นประเภทดีแต่พูด มือไม่พายเอาเท้าราน้ำ ทำให้คนดีไม่กล้าจะเข้ามาเพราะกลัวเปลืองตัว

8. เอ็นจีโอบ้านเราค้านลูกเดียว ทำให้เราเสียโอกาสในการพัฒนา เพราะเอ็นจีโอบางกลุ่มที่อิงผลประโยชน์อยู่ ถ้าจะพูดกันแบบมีเหตุผล ก็ต้องรับผิดชอบร่วมกัน เอ็นจีโอดี ๆ ก็มี แต่บ้านเรามีน้อย กรณีน้ำท่วมเพราะไม่มีเขื่อนรองรับเพียงพอ พอเกิดน้ำท่วม พวกที่ค้านจะแสดงความรับผิดชอบด้วยหรือเปล่า บ่อยครั้งที่ประเทศเราเสียโอกาสอย่างมหาศาล เพราะการค้านหัวชนฝา เหตุผลจริง ๆ ไม่ได้พูดกัน

9. คนไทยอาจจะไม่พร้อมในเวทีโลก เพราะไม่ถนัดภาษาอื่น ที่ไม่ใช่ภาษาตัวเอง ทำให้โลกภายนอกไม่รู้จักคนไทยเท่าที่ควร และการจัดการตัวเองอย่างเหมาะสม เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือในเวทีการค้าระดับโลก ของเราขาดทักษะและทีมเวิร์คที่ดี ทำให้เราสู้ประเทศเล็ก ๆ อย่างสิงคโปร์ไม่ได้

10. คนไทยเลี้ยงลูกไม่เป็น ปัจจุบันเด็กไทยขาดความอดทน ไม่มีภูมิคุ้มกัน เป็นขี้โรคทางจิตใจ ไม่เข้มแข็ง เพราะเราเลี้ยงลูกแบบไข่ในหิน ไม่ สอนให้ลูกช่วยตัวเอง ต่างกับชาติที่เจริญแล้ว เขาจะกระตือรือร้นช่วยตนเอง ขวนขวาย แสวงหา ค้นหาตัวเอง และเขาจะสอนให้สำนึกรับผิดชอบต่อสังคม คุณวิกรมแสดงความเห็นว่า การอบรมเยาวชนมาจาก 3 ทาง หนึ่งภายในครอบครัว สองจากโรงเรียน และสามจากสังคม หรือสื่อสารมวลชน