วันอาทิตย์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ยางลบที่ด้ามดินสอ

.ข้อความโดนๆวันนี้..ลอกเขามาอีกที เห็นว่าดีจึงส่งให้...
    ...ยางลบอยู่บนหัวดินสอ...
หลายวันก่อนเพื่อนคนหนึ่งถามผมว่า “ ทำไมต้องมียางลบอยู่บนหัวดินสอ ? ” ผมไม่ได้สนใจและใสใจกับคำถามนั้นสักเท่าไร เพียงแค่รู้สึกว่าเป็นคำถามที่ไม่มีสาระอะไรเสียเลย แต่ก็อดไม่ได้ที่จะตอบเล่นๆไปว่า “ ก็คงมีเพื่อความสะดวกมั้ง หรือไม่ก็ช่วยให้คนขี้ลืมที่ชอบวางยางลบไม่เป็นที่เป็นทางได้มียางลบใช้มั้ง ”
เพื่อนของผมก็อมยิ้มก่อนที่จะตอบผมสั้นๆว่า “ไม่ใช่ ”
“อ้าวงั้นเพราะอะไรละ” ผมอดที่จะถามไม่ได้
“ก็เพราะว่าคนเรามีสิทธิ์ทำผิดกันได้ ”
ผมนิ่งไปครู่หนึ่ง หลังได้ยินคำตอบ และปล่อยให้เจ้าของคำถามเดินจากไป โดยที่ไม่อธิบายอะไรมากไปกว่าคำตอบสั้นๆของเขาเท่านั้น คำถามของเพื่อนที่ผมเคยมองว่ามันไร้สาระ กลับทำให้ผมได้เก็บมาคิดทุกขณะที่สมองว่าง
เย็นวันนั้น ผมจึงหยิบโทรศัพท์ เขียนข้อความส่งถึงเพื่อนๆ ด้วยประโยคที่ว่า
“ ทำไมต้องมียางลบอยู่บนหัวดินสอ?
“ก็เพราะว่าคนเรามีสิทธิ์ทำผิดกันได้ ”
“ แต่จงจำเอาไว้ว่า เราไม่ควรใช้ยางลบให้หมดก่อนดินสอ เพราะนั่นอาจหมายความว่า เรากำลังทำผิดซ้ำๆจนความผิดนั้นอาจจะสายเกินแก้ไข ”...forward by pjmong...

วันพฤหัสบดีที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

ผลไม้ไทยสู่ระดับโลก

วันที่ 31 ม.ค. 61

การสัมมนา เรื่อง "ไทยจะเป็นศูนย์กลางผลไม้เขตร้อนของโลกได้อย่างไร" ณ ศร.3 ม.เกษตร บางเขน

บรรยายพิเศษเรื่อง "การขับเคลื่อนไทยให้เป็นศูนย์กลางผลไม้เขตร้อนของโลก" โดย คุณสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พานิชย์
-  ก.พานิชย์ร่วมกับก. เกษตร จะทำยุทธศาสตร์ผลไม้แห่งประเทศไทยเสนอครม. สัปดาห์หน้า
- ประเทศไทยน่าจะเป็นมหานครผลไม้ของโลก ปัญหา คือ ไทยยังคงขายในเชิงปริมาณ (ส่งออก / ขาย ไปเท่าไหร่) ต้องจัดการ supply คนกลางจึงคุมราคาได้ และวงจรนี้ยังวนเวียน ดังนั้นจึงมีแนวคิดแบ่งออกเป็น 4 อย่าง
1. พัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตผลไม้เมืองร้อนสดและแปรรูปให้มีคุณภาพมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล
1.1 ทุเรียนสด - ขายเป็น mass เราไม่มี Brand ต้องจัดทำ premium grade และทำให้ต่างประเทศยอมรับและขายแพง และทำ Brand ดังเช่นทุเรียนของมาเลย์ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ / ทุเรียนที่ตกเกรด ต้องสร้างมูลค่าเพิ่ม เช่น โดยการทำ packaging / ก.พานิชย์จะดูตัวเลขและช่วยเรื่องการส่งออกทุเรียน premium
1.2 ทุเรียนแปรรูป - แปรรูป สร้างมูลค่าเพิ่ม เช่น น้ำลำไยเข้มข้นจากงานวิจัยของมช.

2. สนับสนุมการพัฒนาสมรรถนะด้านการเงินของผู้ประกอบการค้าผลไม้ไทย
- ทำนโยบายให้ไทยเป็น Trading nation และสามารถกำหนดกลไกราคาผลไม้ของโลก เช่น รับซื้อผลไม้จากปท.เพื่อนบ้านและนำมาจำหน่ายผ่านช่องทางที่ไทย

3. สร้างและพัฒนาช่องทางการจำหน่ายและกระจายผลไม้ไทยให้มีการเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ
- หาวิธีเก็บผลไม้สดให้ได้นาน / ห้องเย็นผลผลิตทางการเกษตร
- จับคู่ค้าร่วมระหว่างไทย-จีน (ทางจีนจะนำเข้าได้ต้องมี import lisence) เป้าหมายเข้าหมิงเสียน 40% และหนานหนิง (เป็นเมืองจุดตัดรถไฟ ทางเรือและอากาศของจีน) ตอนนี้จากไทยใช้เวลา 1.5 วันทางรถไปจีน / ไทย-จีน คัดธุรกิจที่ไว้ใจได้ทั้ง 2 ฝ่าย ร่วมธุรกิจกัน (Business partner) หากส่ง raw mat ไปแปรรูปที่หนานหนิงได้ สามารถกระจายสินค้าขายในจีนได้ทั้งประเทศ

4. ประชาสัมพันธ์สินค้าผลไม้เมืองร้อนของไทยให้เป็นที่ต้องการของตลาด
- สร้าง Thailand Brand เช่น เมื่อ 30 ปีก่อน ไต้หวัน เป็นเจ้าพ่อการผลิตของโลกแต่ไม่สร้าง Brand ของตัวเอง ปัจจุบันแพ้ประเทศอื่น เช่น จีน ไปแล้ว ตัวอย่าง ทำกล้วยน้ำว้าตากส่งออก (ม.นเรศวรกำลังพัฒนาการเก็บรักษาให้นานเกิน 6 เดือนและไม่ดำ)

เสวนาเรื่อง "ไทยจะเป็นศูนย์กลางผลไม้เขตร้อนของโลกได้อย่างไร"
ดำเนินการโดย คุณเปรม ณ สงขลา บรรณาธิการวารสารเคหการเกษตน
- การขับเคลื่อนการทำ Thai Gap เพื่อการส่งออก
- 1. คุณโอฬาร พิทักษ์ ทึ่ปรึกษาตลาดไทย กล่าวถึงหัวข้อย่อย ดังนี้
1.1 ความเป็นไปได้ - Tripical exotic fruits ต้องการภูมิประเทศที่เหมาะสมในการเติบโต (Micro climate ที่เจาะจง) ซึ่งไทยเหมาะสม / คุณภาพและรสชาติ ไทยดี / ประสบการณ์ ไทยมี / ตลาด คนกินอยู่ฝั่งเอเชียเป็นส่วนใหญ่ ตลาดฝั่งยุโรปและอเมริกาพอมีโอกาส ปัญหา คือ พฤติกรรมการบริโภคที่ไม่คุ้นและคุณภาพ / อัตราการบริโภคและการพัฒนาการเก็บรักษาดีขึ้น / คู่แข่ง - บางประเทศมีภัยธรรมชาติ ไทยยังมีน้อย / อัตราเติบโตของตลาดสูง / สรุป มีโอกาสสูง
1.2 ทำอย่างไร - เปลี่ยนหลักการคิด เราไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง รู้เขารู้เราและรู้ให้จริง ตลาดมีการรับรู้และเปลี่ยนแปลงเร็ว
1.3 อุปสรรค- การรวมตัวของเกษตรกรและหน่วยงานของภาครัฐทำได้ยาก
ยุทธศาสตร์ = นโยบายของรัฐ
แนวทางแก้ไขเพื่อการขับเคลื่อนนโยบาย
- องค์ความรู้ของคน
- การจัดการ
- การตลาด - สร้างพันธมิตรทางการค้า

- 2. คุณชูศักดิ์ ชื่นประโยชน์ รองประธาน หอการค้าไทย กล่าวถึงหัวข้อย่อย ดังนี้
        ทำอย่างไร - ทำ Market place
2.1 ผลผลิตต้องมีมาตรฐาน คุณภาพและความปลอดภัย
2.2 Logistic บริหารตั้งแต่ต้นทาง คือ สวนและฟาร์มของเกษตรกร รวบรวมสินค้า ขนส่ง ไปสู่ปลายทาง ซึ่งศูนย์กลางตลาดกลางของไทยยังไม่ประสบผลสำเร็จ / ผลไม้อายุสั้น ต้องหาวิธีการเก็บรักษาให้ได้นานและการย่นระยะเวลาการขนส่ง
2.3 SPS (กฏระเบียบและสุขอนามัย) - ทำไงให้สินค้าส่งผ่านได้สะดวกและถูกต้อง
2.4 บุคลากรภาคเกษตร- ต้องส่งเสริมแนวคิดผลิตสินค้ามาตรฐาน ถ้าเกษตรกรไม่รวมตัว Hub ไม่เกิด ซึ่งระบบสหกรณ์อาจช่วยได้แต่ต้องพัฒนาระบบและองค์ความรู้ให้กับเกษตรกรทั้งรุ่นเก่าและใหม่
       อุปสรรค
- ประเทศไทยไม่เอาความจริงมาแก้ไขปัญหา / คนไทยทุกคนควรร่วมกันแก้ไข
- ทำไมเนเธอร์แลนด์เป็นศูนย์กลางทางเกษตรของยุโรปได้? ต้นทางแม้ไปปลูกที่ประเทศใกล้เคียงแต่เค้าใช้ระบบและมาตรฐานเดียวกัน ไทยอาจใช้ model ของเค้าในการพัฒนา
- ความสบายในชีวิตทำให้เราไม่กระตือรือล้นจนทำให้เราไม่พัฒนา

- 3. คุณปราโมช ร่วมสุข ประธานสถาบันทุเรียนไทย กล่าวถึงหัวข้อย่อย ดังนี้
       อุปสรรค
3.1 คน - ขาดแคลนแรงงาน ไทยควรสร้างคนรุ่นใหม่
3.2 กฎหมาย - ต้องปรับปรุงการทำงานของภาครัฐให้สอดคล้องกัน เช่น มะม่วงส่งออก ก.เกษตรตรวจ แต่มะม่วงนำเข้า ก.สาธารณสุขตรวจ ซึ่งมันไม่สอดคล้องกัน
3.3 การสร้างเครื่องไม้เครื่องมือ เช่น รถพ่นสารในสวน มือ 1 แพงมาก
3.4 การเพิ่มมูลค่า เช่น 0 waste (การสูญเสียเป็น 0)
3.5 กับดัก - หลงเงาตัวเอง/ หลงภารกิจ/ นโยบาย - ยุทธศาสตร์ประเทศไทย 20 ปี ไม่มีเกี่ยวกับภาคเกษตรเท่าที่ควร ไทยนิยมยั่งยืน/ Social media ไม่มีการควบคุมให้เหมาะสม
เพิ่มเติม
- Thai GAP ต้องการคนขับเคลื่อน (ต้นทุนประมาณ 6 หมื่นบาทต่อแปลง แต่เกษตรกรบอกว่าถ้าทำแล้วขายได้ราคาเดิมทำไปทำไม)
- แม้มี Thai GAP แล้วแต่ส่งออกไม่ได้เพราะ ไม่มี DOA GAP (ใครสนใจเรื่อง Thai GAP ติดต่อ สหกรณ์ท่าใหม่ โดย สวทช. ช่วย 50%)
- การหาเจ้าภาพในแต่ละชนิดผลไม้ เช่น มก. ดูทุเรียน มข. ดูมังคุด มช. ดูเงาะ เป็นต้น
- Thai GAP นั้น มกอช. ทำแต่ DOA ไม่รับเลยส่งออกไม่ได้ ตอนนี้รอแก้ไขประกาศ (ตั้งแต่พ.ย. 60)
- ตลาด ไม่มีมาตรการในการควบคุมคนต่างชาติที่เข้ามาเหมาผลไม้ไทยแล้วส่งออก ควรขึ้นทะเบียน

สรุป เราจะทำสำเร็จได้ต้องหาเจ้าภาพ (ผู้รับผิดชอบ) ให้เจอ
หมายเหตุ:
- ปี 2549 มีการโค่นทุเรียนเพื่อปลูกยาง จึงเป็นต้นเหตุก่อให้เกิดคณะกรรมการการบริหารผลไม้
- จีน มีการรวมตัวตั้ง AQIS  และการทำ SPS และแนวโน้มต่อไปผลไม้ที่นำเข้าจีนต้องผ่านการทำ Vapor Heat Treatment ซึ่งไทยยังไม่มี

Q&A

พักกลางวัน

สัมมนาเรื่อง "เจาะลึกตลาด เพิ่มโอกาสส่งออกผลไม้ไทย"

มะม่วง
(-)ญี่ปุ่นต้องการนำเข้ามะม่วงจากไทย ซึ่งต้องผ่านการอบไอน้ำก่อน พันธุ์ที่นิยม คือ มะม่วงน้ำดอกไม้พันธุ์สีทอง มหาชนก
(-)การนำเข้านั้นผ่านบริษัทตัวแทน ข้อดี Royalty สูง แต่ต้องได้มาตรฐานตามที่ตกลงกัน ล่าสุดมีกำหนดสารเคมีตกค้างทั้งชนิดและปริมาณในมะม่วงที่นำเข้า เกษตรกรต้องปรับตัว
(-)คนญี่ปุ่นกินจะซื้อเป็นลูก ไม่ชั่งกิโลแบบไทย ขนาดที่นิยมที่สุด คือ ขนาด3 ลูก/ กิโล ช่วงที่ขายดี คือ ช่วงที่ขายดีที่สุด คือ อากาศอุ่นๆ ซึ่งคือ มี.ค.-พ.ค. ของทุกปี เราต้องทำการคาดการณ์ผลผลิตล่วงหน้าเพื่อใช้ต่อรองราคาอย่างน้อยๆ 20 วัน โดยกำหนดปริมาณ คุณภาพ และ ขนาด ได้ แต่ราคานั้นเกษตรมักจะรอดูราคาตลาดในไทย
(-) การส่งออกไปญี่ปุ่น ปี 2010 1,500 ตัน สูงสุด ปี 2012 1,800 ตัน ปี 2017 ส่งออก 1,400 ตัน Capacity ต่อปี นำเข้าประมาณ 10,000 ตัน/ ปี รายใหญ่คือ ฟิลิปปินส์ ประมาณ 4,000 ตัน ข้อจำกัดของไทย คือ ราคาแพง
(-)มะม่วงนอกฤดู ไทยทำได้น้อยลง เนื่องจากสภาพอากาศที่แปรปรวน

เกาหลี
(-)เกาหลีพึ่งอนุญาตให้นำเข้ามะม่วงจากไทยได้ 7-10 ปีที่ผ่านมา อนุญาตให้นำเข้าจากไทยได้ เกาหลีบริโภคมะม่วงไทยอยู่ประมาณ 8,200 ตัน/ ปี
(-)การนำเข้า - ลงที่ตลาดค้าส่งที่กรุงโซล แล้วร้านค้าย่อยมาซื้อต่อ เริ่มมีการเจรจานำเข้าแล้วส่งไป supermarket ขนาดใหญ่เลย คนเกาหลีติด Brand ของมะม่วง
(-)ข้อเสีย คือ ราคาทราบถึงกันเร็วมาก ทำให้เกิดเกมส์ราคาขึ้น มักไม่แข่งกันอย่างอื่น

จีน
Mr. Zhu Qidong ผู้แทน บจก. Pagoda นำเข้า #1
1. ปริมาณการนำเข้าจากไทย
นำเข้า ทุเรียน ลำไย มังคุด มะพร้าวและกล้วย ตามลำดับ
2. Sale data
จำหน่ายผ่านหน้าร้านค้า โดยทุเรียนนิยมมากสุด โดยมียอดขาย 55% ของผลไม้ไทยทั้งหมด เนื่องจากรสชาติ และจีนอนุญาตให้นำเข้าทุเรียนสดจากไทยได้ประเทศเดียว / ลองกองเป็นผลไม้อีกชนิดที่คนจีนสนใจ ทดลองส่งทางเรือ ได้รับการตอบรับดี
3. เงื่อนไขการรับซื้อของบริษัท
(-)Product position : Delicious และ คุณภาพ
และไม่มีการจุ่มขมิ้น (เพิ่มสีให้ทุเรียน)
(-)มีการตั้งชื่อทุเรียนตามคุณลักษณะของทุเรียนเพื่อให้ผู้บริโภคทราบถึงความแตกต่าง
(-)เกรด : 8-10 ลูกต่อลัง เกรดเล็ก / 4 ลูก เกรดใหญ่
4. แนวทางการพัฒนา
(-)การแข่งขันสูงทำให้คุณภาพไม่สม่ำเสมอ
(-)มังคุดมีปัญหาเรื่องเนื้อแก้ว
(-) ผลไม้ชนิดรอง เช่น เงาะ ลองกอง ขาดการประชาสัมพันธ์
ไทยมีศักยภาพเป็นผู้นำการส่งออกผลไม้โลกได้

Ms.He Xiaohong ผู้แทนสหพันธ์ท่าเรืออ่าวเป่ยปู้ มณฑลกว่างสี (Guangxi)
(-)บริษัทจดทะเบียนเมื่อปี 2007 มีระวางจอดเรือ 79 จุด
(-)ธุรกิจ: ท่าเรือ กานขนส่ง อสังหาฯ การลงทุน
(-)เป็น Southbound Channel เชื่อมโยงการขนส่งทั้งทางบกและเรือ สิดคล้องนโยบาย one belt one road ของจีน
(-)มีห้องเย็นใหญ่สุดในกว่างสี
(-)เส้นทางการขนส่ง: Beibu Gulf Port กับท่าเรือแหลมฉบัง ใช้เวลาเดินทาง 5 วัน / กับสิงคโปร์ 2 ครั้ง/ สัปดาห์ ใช้เวลาเดินทาง 4 วัน / กับโฮจิมินทร์ / ฮ่องกง

Ms.Liang Liyuan ผู้แทนบริษัทผิงเสียง (XiangXiang) - A global leading company of cross-border logistics between China and ASEAN
(-)เป็น partner การค้าระหว่างประเทศ
(-)เส้นทาง: ผิงเสียง ไป เฉงตู เซี่ยงไฮ้ เวียดนาม ลาว ไทย (ผ่านชุมพร จันทบุรี ...)
(-)Chumphon logistic park
(-)Settlement Center of border trade
(-)บริษัทให้บริการการนำเข้า-ส่งออกแบบครบวงจร

Mr.Huang Guoping ผู้แทนบริษัท สปีด inter transport
(-)ให้บริการรถหัวลากและตู้ขนส่ง
(-)เส้นทาง : ไทย ลาว เวียดนาม จีน (ผ่านด่านผิงเสียง)
(-)ตลาดขายส่งผลไม้อาเซียน ด่านผิงเสียง
(-)เส้นทางตรงสายใหม่ แหลมฉบัง ท่าเรือจินโซว ใช้เวลา 4 วัน
(-)4 ตลาดนำเข้าผลไม้หลัก คือ Shenyang Beijing Shanghai และGuangzhou
(-)คนจีนที่มีบ้านเรือนติดชายแดนสามารถนำเข้าสินค้ามูลค่าไม่เกิน 8,000 หยวน ไม่ต้องเสียภาษี

วิธีการส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางผลไม้เมืองร้อนของโลก
1. ปัจจุบันการขนส่งทางบกของผลไม้ไทยเพื่อเข้าจีนยังไม่มีกฎหมายยืนยันแน่ชัดว่าถูกต้องหรือไม่
2. เส้นทางการขนส่งทางบกยังไม่สามารถรองรับการขนส่งได้มากกว่าเดิม
3. ยานพาหนะและอุปกรณ์ในการขนส่งมีสภาพเสื่อมโทรม ผู้ค้าไม่กล้าลงทุนเนื่องจากกฎหมายไม่ชัด

Download ข้อมูล @ ku-alumni

หมายเหตุ: ปี 2017 จีนได้เปิดเส้นทางขนส่งจากเมืองอี้อู้ของจีนไปลอนดอน ใช้เวลาเพียง 18 วัน

เพิ่มเติม
1. มณฑลกว่างสี เป็นรัฐกันชนและเมืองชายแดน แต่ติดอาเซียนทั้งทางบก น้ำและอากาศ
2. ระยะเวลาขนส่งทางบกจากไทยไปจีนที่ผิงเสียง ใช้เวลาเพียง 4 วัน ผลไม้ยังไม่เน่าเสีย ผิงเสียงเป็นเมืองทางผ่สนของทั้งผลไม้เมืองร้อนและหนาว มีโรงงานแปรรูปหลายโรง
3. ท่าเรือชิงโจว และอีก 2 ท่าอยู่ใกล้อ่าวตังเกี๋ย ซึ่งท่านี้เหมาะกับการขนส่งตู้ container มากกว่าอีก 2 ท่า ในอนาคตจะมีการสร้างเส้นทางรถไฟจากศูนย์กลางของจีนมายังท่าเรือนี้ / ผิงเสียงไปหูหนาน ใช้เวลาประมาณ 2 วัน
4. มีการแอบอ้างผลไม้ของประเทศเพื่อนบ้านว่าเป็นผลไม้ของไทย / ราคาถึงปลายทางสูงแต่ผู้บริโภคยังนิยมเพราะรสชาติดี
5. ตลาดจีนยังมีโอกาสอีกมาก จีนมี 32 มณฑล คนในแต่ละมณฑลมีพฤติกรรมและชอบผลไม้/ รสชาติไม่เหมือนกัน (กำลังซื้อของหูหนานมีมากกว่ากว่างสี เนื่องจากการขายแร่ธาตุ)

จบสัมมนา