วันจันทร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2561

โซล่าเซลในเมืองไทย

เรื่อง อย่าบังแดด  โซล่าร์เซลล์มาแล้ว

ที่มา : เนชั่น สุดสัปดาห์

หากไม่ใช่ปัญหาราคาและเทคโนโลยี เหตุใดโซล่าร์เซลล์ไม่เกิดในเมืองไทย

"""""""""""""""""""

“ที่เยอรมันมีการศึกษาว่า แสงแดดที่ส่องในเวลา 8 นาที สามารถให้พลังงานมนุษย์ทั้งโลกใช้ได้ทั้งปี เรื่องนี้เป็นความจริง แต่อยู่ที่ปัญญาในการใช้ ในอดีตเราเปลี่ยนน้ำทะเลเป็นน้ำดื่มไม่ได้ แต่ตอนนี้ทำได้แล้ว ณ วันนี้เราใช้โซล่าร์เซลล์ราคาถูกได้แล้ว” ประสาท มีแต้ม ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงาน กรรมการผู้เชี่ยวชาญด้านบริการสาธารณะ คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน (คอบช.) กล่าวบนเวทีเสวนา อย่าบังแดด ในงานมหกรรมสมุนไพรและอาหาร ครั้งที่ 3

เพื่อชี้ให้เห็นว่า คุณประโยชน์ของแสงแดดมีมหาศาล

ว่ากันว่า มีความพยายามผลักดันให้มีการใช้โซล่าร์เซลล์ในเมืองไทยอย่างต่อเนื่อง แต่รัฐไม่ขานรับอย่างเป็นทางการ จะด้วยเหตุผลทางธุรกิจหรือเรื่องใดก็ตาม ประชาชนก็ควรจะรู้ว่า ณ วันนี้ การติดตั้งโซล่าร์เซลล์ ไม่ใช่เรื่องยาก และแผ่นโซล่าร์เซลล์ก็ไม่ได้มีราคาแพงเหมือนเมื่อก่อน

แล้วเหตุใด รัฐไม่เปิดไฟเขียว ?

มีคนมากมายในประเทศนี้ที่อยากใช้โซล่าร์เซลล์ แต่ติดปัญหาที่รัฐไม่อนุญาติให้มีการใช้ในราคาที่สมเหตุสมผล หากจะเชื่อมกับระบบไฟฟ้าที่มีอยู่ ประชาชนไม่มีสิทธิขายไฟฟ้าที่เหลือจากโซล่าร์เซลล์ให้ส่วนกลาง

“อเมริกากีดกั้นเรื่องนีี้ โซล่าเซลล์กำลังเทออกจากจีน จึงส่งมาที่ประเทศไทย และการแข่งขันทำให้ราคาลดลงมาก ตอนนี้เป็นโอกาส ซึ่งทางโรงเรียนของเรา ก็ติดตั้งโซล่าเซลล์จากค่าไฟฟ้าเดือนละเจ็ดพันบาท เหลือแค่สี่สิบบาท” ท่านพระครูวิมลปัญญาคุณ เจ้าอาวาสวัดป่าศรีแสงธรรม จ.อุบลราชธานี ผู้ก่อตั้งโรงเรียนศรีแสงธรรม โรงเรียนกินแดด กล่าว

นอกจากก่อตั้งโรงเรียนกินแดด ท่านพระครูยังประดิษฐ์อุปกรณ์เครื่องใช้จากโซล่าเซลล์หลายชิ้น  เปิดคอร์สสอนเรื่องโซล่าร์เซลล์แก่ประชาชนทั่วไป และติดตั้งโซล่าร์เซลล์ให้โรงพยาบาลที่ขอให้ช่วยเหลือ รวมถึงศึกษาดูงานเรื่องนี้ในหลายประเทศ โดยทำงานร่วมกับคนหลายกลุ่ม สิ่งที่ท่านทำ จึงเป็นการใช้องค์ความรู้ นวัตกรรม และภูมิปัญญาพื้นบ้าน ผนวกรวมกัน

แม้โรงเรียนในอุบลราชธานีจะอยู่ห่างไกลจากเมืองหลวง แต่ไม่ได้ไกลรัศมีแสงอาทิตย์ จึงสามารถใช้ประโยชน์จากแดดได้เหมือนหลายประเทศในโลกนี้

     “อุบลราชธานีอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร เราก็นำแสงแดดมาใช้ได้ จริงๆ แล้วเราใช้ความเข้มของแสงแดดในการให้พลังงาน ถ้าโซล่าร์เซลล์ร้อนจัดจะไม่ค่อยให้พลังงาน ทางยุโรปก็ใช้โซล่าเซลล์เยอะ เมืองไทยก็น่าจะนำมาใช้ ตอนนี้เทคโนโลยี และระบบการติดตั้งรองรับได้แล้ว มีประสิทธิภาพมากขี้นและราคาลดลง”

หลายสิบปีที่ผ่านมา ท่านพระครูได้ทดลองใช้อุปกรณ์หลายแบบติดตั้งโซล่าร์เซลล์ เพื่อใช้พลังงานไฟฟ

“ระบบผลิตตอนนี้ก็เข้าถึงได้ง่ายๆ เป็นเทคโนโลยีชาวบ้าน ใช้แสงแดดแก้ไขปัญหา ยิ่งมีการใช้แพร่หลาย ก็จะเกิดการศึกษาวิจัย โดยเฉพาะแผ่นโซล่าเซลล์และระบบ อาตมาได้ข่าวว่ากำลังจะมีเทคโนโลยีผลิตแบตเตอรี่ในประเทศไทย และตอนนี้ทางบริษัทเทลล่าจะตีตลาดเรื่องรถไฟฟ้า ซึ่งจะเอื้อประโยชน์ในเรื่องนี้ ก็เลยคิดว่าเป็นโอกาสอันดีของโซล่าร์เซลล์”

แล้วเหตุใดโซล่าเซลล์ไม่สามารถแพร่หลายในเมืองไทย

จากข้อมูลการศึกษาวิจัย พบว่าการติดตั้งโซล่าเซลล์ 3 กิโลวัตต์ เพียงพอสำหรับบ้านที่ใช้ไฟฟ้าเดือนละสองพันกว่าบาท แม้จะลงทุนติดตั้งโซล่าร์เซลล์แสนกว่าๆ แต่ทำไมไม่สามารถทำได้

อาจารย์ประสาท บอกว่า เนื่องจากทางการไฟฟ้าบังคับให้ติดอุปกรณ์ตัวหนึ่ง เพื่อไม่ให้ไฟไหลออก ต้องใช้เงินกว่า 200,000 บาท

"ตอนนี้โลกไปถึงไหนแล้ว เมืองไทยยังมีกติกากีดกันเรื่องนี้ ผมขอยกตัวอย่างโรงเรียนประถม 3,700 แห่งในอเมริกาใช้โซล่าร์เซลล์สามารถประหยัดค่าไฟฟ้าได้ 78 ล้านเหรียญต่อปี พวกเขาเอาเงินเหล่านี้มาจ้างครูพันกว่าคน จ้างได้เกือบตลอดชีวิต เพราะโซล่าเซลล์มีอายุการใช้งาน 25 ปี และยังมีข่าวว่าอีก 2 ปี ผู้บริหารเฟสบุ๊คจะใช้พลังงานหมุนเวียนทั่วโลก”

เขาเปรียบเปรยให้เห็นว่า ระหว่างเยอรมันกับประเทศไทย ประเทศไหนมีแดดเยอะกว่ากัน แม้ประเทศไทยมีแดดเยอะกว่า แต่มีโซล่าร์เซลล์น้อยกว่า หากนำโซล่าร์เซลล์มาใช้ในเมืองไทยสัก 25 เปอร์เซ็นต์ ก็จะมีการจ้างงานมากขึ้น คงประมาณกว่า 400,000 คน

“ถ้าเปรียบเทียบไทยกับอินเดีย อินเดียมีแดดมากกว่าไทยนิดหน่อย นายกรัฐมนตรีของอินเดียตั้งเป้าว่าจะผลิตไฟฟ้าจากโซล่าร์เซลล์ 60 เปอร์เซ็นต์ของการใช้ไฟฟ้า ซึ่งก่อนหน้านี้จะใช้ถ่านหิน และเมื่อทำสัญญาแล้ว ก็ยอมจ่ายค่าปรับให้บริษัทที่ลงทุน เพราะคำนวณแล้วว่า การใช้โซล่าร์เซลล์คุ้มค่ากว่า เนื่องจากราคาถูกกว่าถ่านหิน 20 เปอร์เซ็นต์”

นอกจากนี้อาจารย์ประสาทยังได้ยกตัวอย่างข้อมูลทางวิชาการชุดหนึ่ง โดยบอกว่า ต้นทุนการผลิตโซล่าเซลล์ เพื่อใช้ไฟฟ้าในอินเดียหน่วยละบาทกว่าๆ

“ตอนนี้คนไทยใช้ไฟฟ้าหน่วยละ 4 บาทกว่า และถ้าใช้ปริมาณมากขึ้นก็เพิ่มค่าไฟฟ้า ในอริโซน่า ค่าไฟฟ้าจากโซล่าร์เซลล์บาทกว่า ๆ ซึ่งการใช้โซล่าร์เซลล์ถูกกว่าเยอะ”

เมื่อระบบไม่เปิดโอกาสให้มีการใช้โซล่าร์เซลล์อย่างเป็นทางการ และประชาชนก็ไม่เข้าใจว่า การติดตั้งระบบแบบนี้ยุ่งยากอย่างไร เนื่องจากที่ผ่านมา หากมีพลังงานไฟฟ้าเหลือจากการใช้โซล่าร์เซลล์ก็ไม่สามารถขายให้สายส่งของการไฟฟ้าได้

“ปัจจุบันการใช้ระบบออนกริด (มีแหล่งจ่ายไฟ 2 ทาง ทางหนึ่งจากการไฟฟ้า และอีกทางจากแผงโซลาร์เซลล์หลังคาบ้าน ระบบไฟที่ผลิตได้จากแผงโซลาร์เซลล์ จะแปลงไฟโดยอินเวอร์เตอร์ และสามารถต่อไฟร่วมกับระบบไฟจากการไฟฟ้าได้ ไม่ต้องทำระบบสลับไฟ จะใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าได้เลย ไม่ใช้แบตเตอรี่แบบไม่ขาย) ยังเป็นสิ่งที่ผิด สำหรับบ้านเรา เพราะเขาไม่ได้ค่าไฟจากเรา จึงมีการเปลี่ยนมิเตอร์ไม่ให้หมุนกลับ” ผู้บริโภคคนหนึ่ง กล่าว 

ส่วนท่านพระครู ยกตัวอย่างการใช้โซล่าร์เซลล์ในโรงเรียน มีการพัฒนาเป็นลำดับขั้น

“คือที่โรร์งเรียนเคยทำระบบ ไฟฟ้าที่เหลือให้คนอื่นยืมไปใช้ได้แล้วค่อยคิดเงิน แต่รัฐให้ถอดออก รัฐออกระเบียบไม่ให้ไฟไหลออก ให้ใช้อย่างเดียว แต่ถ้าเป็นพ่อค้านายทุนด้านไฟฟ้าส่งให้ก็รับซื้อ กระทั่งเราพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์ กดปุ่มเชื่อมต่อออนไลน์ สั่งเปิดปิดไฟจากที่นี่ได้เลย ถ้าไฟฟ้าเหลือเก็บไว้ในแบตเตอรี่ ออสเตรเลียก็ทำแบบนี้ได้ แต่ในเมืองไทยทำไม่ได้”

หากถามเรื่องมาตรฐานโซล่าร์เซลล์ ท่านพระครู ผู้เชี่ยวชาญด้านโซล่าร์เซลล์ บอกว่า ตอนนี้ที่โรงเรียนใช้สมาร์ทไฮบริด ก้าวไปสู่การซื้อไฟฟ้าบ้านต่อบ้าน ซื้อผ่านระบบบล็อกเชน แต่กฎหมายยังไม่มี คงจะมีกฎหมายไล่ตามมา

“ตอนนี้ที่โรงเรียนสามารถใช้มือถือเปิดปิดระบบไฟฟ้าจากพลังโซล่าร์เซลล์ได้เลย ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ทางการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคก็มาช่วยทำ ส่วนอีกโครงการที่ทำคือ จะติดตั้งโซล่าร์เซลล์ตามโรงพยาบาลทั่วประเทศ  แต่ตอนนี้ยังไม่มีเงิน ที่ติดตั้งโซล่าร์เซลล์ไป คือ ที่โรงพยาบาล 50 พรรษามหาวชิราลงกรณ และโรงพยาบาลสงฆ์ จ.อุบลราชธานี ลดค่าไฟฟ้าได้เดือนละ18,000 -20,000 บาท และยังมีอีกหลายโรงพยาบาลต้องการติดโซล่าร์เซลล์อีก อาตมาก็บอกว่า ถ้ามีโอกาสจะช่วยติดตั้งให้”

ในขณะที่ต่างประเทศอยากให้ติดตั้งโซล่าร์เซลล์ตามบ้านเรือน แต่ในเมืองไทย กลับออกกฎหมายหรือกฎ ป้องกันการผลิตกระแสไฟฟ้าจากโซล่าร์เซลล์ไหลเข้าสู่ระบบ โดยวางระบบไว้ว่า มิเตอร์ไฟฟ้าต้องไหลไปในทางเดียว ห้ามหมุนย้อนกลับ เพื่อให้ใช้โซล่าร์เซลล์ในขอบเขตจำกัด ไม่สามารถแบ่งปันถ่ายเทกัน

"พวกเขาคงไม่อยากให้ลดการผลิตกระแสไฟฟ้าจากฟอสซิล ไม่อย่างนั้นจะเป็นการเบียดเบือนรายได้  ตอนนี้ระบบผลิตไม่ใช่ปัญหา อย่างระบบออนกริด จ่ายไฟจากโซล่าร์เซลล์โดยตรงได้เลย ซึ่งคนก็มีความรู้เรื่องนี้เยอะขึ้น อาตมาก็สอนให้เด็กนักเรียนต่อระบบโซล่าร์เซลล์ได้หมด” ท่านพระครูเล่าและบอกว่า แม้ในอุบลราชธานี ไฟฟ้าจะดับเป็นเดือน ก็ไม่มีผลต่อโรงเรียนศรีแสงงาม เพราะใช้โซล่าเซลล์เป็นไฟฟ้าหลัก โดยใช้แบตเตอรี่เป็นไฟสำรอง

"ถ้าระบบไฟฟ้าที่เราวางไว้ล่ม เรามีการไฟฟ้าเป็นระบบสำรอง ทำไมถึงทำได้ เพราะกลางคืนเราไม่ได้ใช้ไฟฟ้า ก็เลยเปิดไฟทิ้งไว้ เพื่อรักษาระบบแบตเตอรี่ ไม่อย่างนั้นพัง จำได้ว่าอาตมาไปเยือนเพื่อนที่เมลเบิร์น ออสเตรเลีย เขาบอกว่า ใช้โซล่าร์เซลล์ ค่าไฟฟ้าเหลือเดือนละ 70 ดอลล่าร์ เมื่อก่อนประมาณ 600 กว่าดอลล่าร์ จะติดโซล่าร์เซลล์เท่าไหร่ก็ได้ เพราะมีการแยก 2 มิเตอร์ ถ้าไม่ได้ใช้ก็ส่งไประบบสายส่ง”

หากเชื่อว่า คนเล็กๆ สามารถเปลี่ยนแปลงโลกได้ การผลักดันโซล่าร์เซลล์ ก็น่าจะเกิดขึ้นได้ ไม่ว่าระบบผลิต ระบบจัดส่งให้ผู้ใช้ ระบบการบริหารจัดการ ระบบจำหน่าย ในเมืองไทยมีผู้รู้ครบทุกด้าน อยู่ที่ว่ารัฐบาลจะไฟเขียวหรือไม่

“แม้จะบอกว่า แบตเตอรี่นำเข้าราคาแพง เราก็ใช้วิธีผลิตไฟฟ้าไหลไปเก็บไว้ที่สายส่งเข้าบ้านคนอื่น ไม่มีต้นทุนใดๆ ไม่ต้องซื้อแบตเตอรี่เก็บไว้ ตอนนี้เราใช้ไฟฟ้าจากการไฟฟ้า เงินไหลออกทางเดียว ผู้ผลิตไฟฟ้าก็ร่ำรวย แต่ตอนนี้เทคโนโลยีพร้อมแล้ว ในคาลิฟอร์เนีย มีกฎว่า บ้านทุกหลังที่สร้างใหม่ ต้องติดโซล่าร์เซลล์ ในรัสเซีย บ้านทุกๆ 4 หลังจะต้องติดโซล่าร์เซลล์”

นอกจากผู้รู้ด้านโซล่าร์เซลล์ ยังมีผู้อยากผลักดันให้คนไทยได้ใช้โซล่าร์เซลล์ รสนา โตสิตระกูล อดีตสมาชิกสภาปฎิรูปแห่งชาติ(สปช.) ด้านพลังงาน บอกว่า ตอนนี้วิกฤติมนุษย์มี สามเรื่อง 1โลกร้อน 2ความเหลื่อมล้ำ (ประเทศไทยเป็นอันดับสามของโลก รองจากรัสเซีย และอินเดีย คือ รวยกระจุก จนกระจาย) และ3 ปัญหาเรื่องปัญญาประดิษฐ์ หุ่นยนต์จะมาแย่งงานมนุษย์ คนที่นำหุ่นยนต์มาใช้ก็จะรวยขึ้นเรื่อยๆ

“การใช้พลังงานฟอลซิล ทำให้เกิดปัญหาโลกร้อน เกิดภัยพิภัย คุกคามความอยู่รอดมนุษย์ชาติ ถ้าเราหันมาใช้แสงแดด ไม่มีการเผาไหม้เป็นกระบวนการสะอาด และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งทางยุโรปตื่นตัวมาก ส่งเสริมให้คนหันมาใช้พลังงานจากแสงแดด เวลานี้เทคโนโลยีมาถึงแล้ว เราสามารถใช้แสงแดดผลิตพลังงานของตัวเอง แต่ประชาชนไม่สามารถเข้าถึงแสงแดด เพราะรัฐบาล และกลุ่มทุนพลังงานฟอลซิลยืนบังแดดไว้ เนื่องจากธุรกิจพลังงานฟอลซิลสร้างความร่ำรวยและผูกขาด

“อยากยกตัวอย่าง พรรคกรีนของเยอรมัน ที่ผลักดันกฎหมายพลังงานหมุนเวียนจนสำเร็จ จนรัฐบาลเยอรมันนำไปใช้ ตอนที่ดิฉันเป็นวุฒิสมาชิก ได้เชิญโจเซฟ ฮัน สเปิ่ล มาพูดคุยที่รัฐสภา ตอนนั้นเขาคิดแค่ว่าแก้ปัญหาโลกร้อน ไม่ได้เคยคิดว่า การส่งเสริมให้คนใช้พลังงานหมุนเวียนเป็นการสร้างงานให้คนด้วย ปี 2543 เป็นปีแรกๆ เริ่มมีการใช้พลังงานหมุนเวียน จากในอดีตเคยจ้างงานคนในระบบพลังงานถ่านหินสามหมื่นคน พอปี 2553 มีการจ้างงานคนเพิ่มเป็นสามแสนคน "

ส่วนนักสู้ภาคประชาชน บุญยืน บอกว่า นโยบายที่ว่า คนติดตั้งโซล่ารูฟ รัฐไม่รับซื้อ และไม่ต้องขออนุญาต กว่าจะขอได้ต้องมีขั้นตอนที่แจ้ง 9 ขั้นตอนและขออนุญาตหลายหน่วยงาน นี่นโยบายบังแดดชัดๆ

"เราเคยไปดูงานที่เยอรมัน รัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนประหยัดพลังงาน ในจีนก็สนับสนุน แต่ในสังคมไทยมีความเหลื่อมล้ำ สนับสนุนแต่นักลงทุน มีการประกันการขาดทุน แต่ถ้าเป็นประชาชนไม่สนับสนุน ไม่รับซื้อจากประชาชน แต่รับซื้อจากบริษัทเอกชน ถึงเวลาจะตั้งกองทุนปลอดดอกเบี้ยหรือยัง

แล้วทำไมคนไทยเป็นแค่คนซื้อพลังงาน แต่ผลิตไฟฟ้าไม่ได้"

วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2561

น้ำผะกสดปั่นแก้มะเร็ง

ช่วยแชร์กันไปเยอะๆนะครับ มีประโยชน์กว่าส่งดอกไม้ให้กันทุกๆวัน อัยการรุ่นน้องที่สงขลาส่งมาให้อ่าน รู้ไว้ใช่ว่า

    ผม สุรินทร์ วัตตธรรม ขออนุญาตเขียนบทความจากเรื่องจริง เกี่ยวกับประโยชน์การกินน้ำปั่นใบไม้สดและผักสดที่ไม่ผ่านความร้อน

   ภรรยาผมป่วยเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองมาเป็นเวลา 14 ปีมานี้ เคยให้คีโมครั้งใหญ่ๆมา 5 ครั้งและฉายแสงที่คอ 1 ครั้ง เพื่อให้ก้อนมะเร็งยุบ

    ขณะนี้ไม่มีคีโมที่จะให้ต่อไปอีกแล้ว เนื่องจากคีโมที่ดีที่สุดให้มาหมดแล้ว

     มีคำถามว่าการรับคีโมและฉายแสงเป็นการรักษาให้หายขาดหรือไม่ คำตอบคือไม่ใช่ครับ เป็นเพียงยับยั้งการเติบโตของก้อนมะเร็งและยับยั้งการแพร่กระจายในระยะหนึ่งเท่านั้น
     ส่วนใหญ่ไม่เกิน 2 ปีจะกลับมาเป็นอีก

    ปัจจุบันผมรักษาด้วยให้กินน้ำปั่นใบไม้สดและผักสดที่ไม่ผ่านความร้อน หยุดให้คีโมมาประมาณ 4 ปีเศษ ก้อนมะเร็งที่รักแร้ ที่ขาหนีบ ในช่องท้องมีขนาดเท่าไข่ไก่ บัดนี้ยุบเหลือขนาดปลายนิ้วก้อย และก้อนมะเร็งที่คางและลำคอก็ยุบเล็กลงเช่นกัน สามารถใช้ชีวิตเหมือนบุคคลทั่วไปตามปกติ

       สิ่งที่น่าแปลกใจ ภายหลังฉายแสงที่คอ ทำให้ต่อมรับรสเสื่อมกลายเป็นลิ้นจระเข้ คือรับรสทุกอย่างไม่ได้ และต่อมน้ำลายก็ถูกทำลาย มีปัญหาต่อการกลืนอาหาร

   ผมเรียนถามคุณหมอที่ดูแลการฉายแสง ได้รับคำตอบว่าไม่มีอะไรสู้แสงได้หรอก ไม่มียารักษา เสียแล้วเสียเลย ผมก็ทำใจ
      แต่ท่านที่เคารพครับ กินน้ำปั่นพืชสดที่ไม่ผ่านความร้อนประมาณ 4 เดือน
ต่อมรับรสและต่อมน้ำลายกลับฟื้นคืนดีขึ้น 80 เปอร์เซนต์ ปัจจุบันกินมา 5 เดือนกว่า ต่อมรับรสและต่อมน้ำลายดีขึ้น 90 กว่าเปอร์เซนต์

     นอกจากนี้เพื่อนผมเป็นเบาหวานค่าน้ำตาล 145 ยังไม่กินยาลดน้ำตาล ผมแนะนำให้กินน้ำปั่นพืชสดที่ไม่ผ่านความร้อน กินมาได้ 2 เดือน ค่าน้ำตาลลดลงเหลือ 70 และแถมปัสสาวะไม่ติดขัด

      เนื่องจากในเวลาเดียวกันต่อมลูกหมากเขาโต ทำให้ปัสสาวะติดขัดด้วย
      ปัจจุบันเพื่อนผมเขามีความสุขมาก และผมแนะนำต่อไปว่า ทุกครั้งที่ปั่นน้ำพืชสด ให้ใส่มะเขือเทศราชินีหรือมะเขือเทศสีดา ครั้งละ 1 กำมือ เพื่อป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมาก

    ภรรยาผมกินน้ำปั่นพืชสดกรองกากทิ้ง ใส่ใบไม้จำนวนมาก หลายชนิด เช่น ..

1.ใบบัวบก
2.ใบตำลึง
3.ใบมะยม
4.ใบมะกรูด
5.ใบมะนาว
6.ใบชะมวง
7.ใบมันปู
8.ใบโหระพา 
9.ใบกระเจี๊ยบแดง
10.ใบเม่า
11.ใบเตย
12.ใบข่า 
13.ผลมะระขี้นก 3 ผล
14.มะเขือเทศราชินี 1 กำมือ

(ใส่ตามที่หาได้ครับ ไม่ต้องให้ครบทุกอย่าง)
15.ใส่น้ำ 900 cc

-ภรรยาผมกิน 600 cc
-ผมกินเพื่อสุขภาพ 300 cc เนื่องจากผมไม่เป็นโรค ncds
-มื้อเย็นผมกับภรรยากินคนละ 300 cc
รวมแล้ววันหนึ่งภรรยาผมกิน 900 cc
-ไม่กินของหวาน และงดอาหารรสมัน เค็ม
-นอนไม่เกิน 23.00 น. ครับ

     ปัจจุบันถ้าท่านไม่รู้มาก่อนว่าเธอเป็นมะเร็งก็จะทายไม่ถูกว่าเธอเป็นมะเร็ง เนื่องจากมีสุขภาพแข็งแรง ทำงานบ้านตลอด จ่ายตลาดทุกวันศุกร์

    หากมีประโยชน์บ้าง กรุณาบอกต่อ สาธุ สาธุ สาธุ

วันอาทิตย์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2561

เรียน online ขาก khan

หากไม่ปรับไม่เปลี่ยน มหาวิทยาลัยก็กลายเป็นตึกร้าง

30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 เวลา 00:01 น.          

     เมื่อวานผมเขียนถึงคนชื่อ Salman Khan ที่ทำนายว่าจากนี้ไปคนไม่ต้องเข้าเรียนมหาวิทยาลัย ปริญญาจะไร้ความหมาย และวิถีแห่งการเรียนการสอนจะเปลี่ยนไปอย่างหนักหน่วงรุนแรง
    ผมอยากให้คนไทยได้ตื่นตัวและรีบปรับตัวให้ทันกับแนวโน้มใหม่นี้อย่างรวดเร็วและจริงจัง
     Salman Khan เป็นนักศึกษาอัจฉริยะ ผู้แตกฉานหลากหลายศาสตร์ที่มีสอนในสถาบันการศึกษา
    เขาเป็นนักวิเคราะห์การเงินอเมริกันเชื้อสายอินเดีย-บังกลาเทศ
    เป็นบัณฑิต 3 ปริญญาตรีจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (MIT) สาขาวิทยาศาสตร์ เอกคณิตศาสตร์, วิศวกรรมสาขาไฟฟ้า และวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์
    หลังจากติวหลานสาวด้วยตัวเองระยะหนึ่งก็ตัดสินใจอัดใส่วิดีโอเอาขึ้น YouTube จนกลายเป็นที่ฮือฮา และพัฒนาเป็นการสอนต่อแบบเร่งรัดในเว็บไซต์ชื่อ Khan Academy
    ที่เป็นจุดเด่นก็คือเขาตั้งใจสอนฟรี กลายเป็นโรงเรียนออนไลน์ใหญ่ที่สุดในโลก
    วันหนึ่ง Bill Gates แห่ง Microsoft เห็นเข้าก็สนใจและบริจาคเงินก้อนแรก 1.5 ล้านเหรียญ หรือประมาณ 50 ล้านบาท จนทำให้เกิดเป็นปรากฏการณ์ระดับโลก
    บิล เกตส์ ให้เงินสนับสนุนต่อเนื่องอีกหลายปี ต่อมา Google ก็ยังเข้ามาร่วมสนับสนุนเงินและให้ใช้ระบบ Google Cloud ในการโฮสต์เว็บไซต์และข้อมูลต่างๆ อีกด้วย
    ทุกวันนี้ Salman Khan เติบโตกลายเป็นเจ้าของธุรกิจการศึกษาสมัยใหม่เต็มตัว และเปิดโรงเรียน Off-line ของตัวเองชื่อ Khan Lab School
    ปัจจุบัน Khan Academy มีคลิปสอนวิชาต่างๆ กว่า 5,000 คอร์ส รวม 20,000 กว่าคลิป ตั้งแต่วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ สังคมศาสตร์ ประวัติศาสตร์ มนุษยศาสตร์ วิศวกรรม การเงิน ครอบคลุมระดับอนุบาลจนถึงอุดมศึกษา วิดีโอที่ทำออกมามีไม่น้อยกว่า 65 ภาษา
    Khan Academy ภาษาไทยเกิดด้วยการสนับสนุนของมูลนิธิศักดิ์พรทรัพย์ และมูลนิธิไทยคม
     ที่น่าสนใจคือ รูปแบบของการเรียนการสอนออนไลน์แบบนี้มีแบบฝึกหัดให้นักเรียนทำด้วยตนเอง ส่วนครูก็สามารถนำไปใช้เป็นสื่อการสอน เป็นบริการช่วยสังคมระดับโลกที่น่าชื่นชม
    ว่ากันว่าแต่ละวัน บทเรียนต่างๆ ของ Khan Academy มากกว่า 1,000 ล้านบทเรียนจะผ่านสายตาผู้ชม และทุกเดือนมีครูประมาณ 2 ล้านคน นักเรียนประมาณ 40 ล้านคน เข้ามาใช้งานในห้องเรียนดิจิทัลแห่งนี้
    รูปแบบการเรียนการสอนแบบนี้แหละครับที่กำลังจะกลายเป็นปรากฏการณ์ใหม่ที่ประเทศไทยจะต้องเรียนรู้และปรับมาใช้อย่างรวดเร็วและจริงจัง
    แม้ว่ามหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ของไทยจะยัง “ดื้อเงียบ” ไม่ยอมปรับตัวอย่างจริงจัง ทั้งๆ ที่สัญญาณความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงเด่นชัด เห็นไฟแดงโร่ให้เห็นทั่วไป แต่การปรับตัวก็ยังช้าและเฉื่อยแฉะ
    ผมคุยกับนักวิชาการหลายมหาวิทยาลัย ส่วนใหญ่ยอมรับว่าแรงต่อต้านมิได้มาจากนักศึกษาเอง คนที่ไม่ยอมปรับไม่ยอมเปลี่ยนคือตัวอาจารย์เองต่างหาก
    เหตุผลมีหลายประการ แต่ที่ดูเหมือนจะเป็นปัจจัยหลักคือการที่อาจารย์มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ยังอยู่ใน “comfort zone” ของตัวเอง ยังเลือกจะอยู่ใน “เขตปลอดภัยและคุ้นเคย” ของตัวเอง
    ระบบมหาวิทยาลัยปัจจุบันก็เอื้อต่อการที่อาจารย์จะรักษาสถานภาพเดิม ไม่จำเป็นต้องฟังเสียงหรือนโยบายจากสภามหาวิทยาลัย หรือแม้จากตัวอธิการบดีเอง เพราะโครงสร้างการบริหารทุกวันนี้อำนาจไปตกอยู่ที่ตัวอาจารย์และคณบดีมากกว่าอธิการบดี
    แรงกดดันที่จะทำให้อาจารย์ต้องเปลี่ยนต้องมาจากนักศึกษาเองที่จะต้องแสดงตนให้ชัดว่าการเรียนการสอนแบบเดิมมิอาจจะเป็นที่ยอมรับได้อีกต่อไป
    การเรียนการสอนแบบ flipped classroom หรือ “ห้องเรียนกลับด้าน” แม้จะเป็นที่รับทราบกันทั่วไปในแวดวงมหาวิทยาลัย แต่ก็ยังมีการนำมาใช้เฉพาะบางส่วนบางคณะเท่านั้น
    รูปแบบ flipped classroom หมายถึงการที่อาจารย์กับนักศึกษาตกลงกันว่าห้องเรียนต้องไม่ใช่เป็นที่อาจารย์เล็กเชอร์อีกต่อไป นักศึกษาสามารถอ่านและหาข้อมูลเองจากที่บ้านหรือนอกห้องเรียน ส่วนห้องเรียนนั้นจะต้องเป็นจุดที่อาจารย์กับนักศึกษาแลกเปลี่ยนความเห็น วิเคราะห์ ถกแถลง และขยายผลจากตำราหรือบทเรียน
    การจะนำรูปแบบใหม่เช่นนี้มาใช้ได้ แปลว่าอาจารย์จะต้องทำการบ้านมากกว่าเดิม จะต้องทำหน้าที่เป็น coach มากกว่าเป็น lecturer และจะต้องยอมรับว่าบ่อยครั้งนักศึกษาอาจจะรู้มากกว่าตัวเอง
    วิธีคิดหรือ mindset อย่างนี้เกิดขึ้นได้ยากหากอาจารย์มหาวิทยาลัยวันนี้ยังไม่เข้าใจปรัชญาแบบของ Salman Khan ที่เขียนเล่าไว้ในคอลัมน์เมื่อวานและวันนี้
    แต่หากไม่ปรับไม่เปลี่ยน การล่มสลายของสถาบันที่เรียกว่ามหาวิทยาลัยก็จะเกิดขึ้นในไม่ช้านี้อย่างแน่นอน.