วันพุธที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2567

การใช้รถขึ้นดอย

เรื่องเล่าสู่กันฟังเรื่องนี้ค่อนข้างอันตรายครับ คนที่ต้องเป็นขับรถ ขึ้นที่สูงชันยาวๆ ต้องหัดปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรมใหม่โดยเฉพาะคนไทยเนียะแหละครับ    
   เรื่องก็คือ ช่วงที่ผมเดินทางขึ้นดอยอ่างขางนะครับ จากที่เล่าให้ฟังเรื่อง google map เป็นเหตุนะครับ หลังจากที่ ผมไปผิดที่เจ้าของรีสอร์สลงตำแหน่งผิดเอาไว้แล้วบน google map แล้วไม่แก้นะครับ ระหว่างข้ามเขาไปที่ที่ถูกต้อง ตอนนั้นก็เกือบสองทุ่มแล้ว ทางเปลี่ยวไม่มีนักท่องเที่ยวผ่านเลยเพราะด้านที่เราเดินทางเป็นทางขึ้นที่ชันมาก เส้นทางเป็นแบบพับผ้าอีกด้วย ก็เกิดปัญหาระหว่างทางเกี่ยวกับเบรกมีเสียงดัง ขึ้นมาอีก ผมใจคอไม่ดีเลย กังวลใจถึงตอนขาลงที่ต้องใช้เบรกมากกว่า ผมค่อยๆขับแบบระวังไปตลอดทางจนถึงที่พัก ขากลับเป็นตอนกลางวัน กลับทางเดิมครับเพราะกะจะให้ถึงพื้นเร็วที่สุด ทางชันด้านนี้ขับรถระยะทางถึงพื้นน้อยกว่า ไม่รู้ว่าทางมันชันอันตรายแค่ไหนเพราะขาขึ้นมองทางไม่เห็น ขาลงถึงรู้ว่ามันชันและคดเคี้ยวมากแค่ไหน รถผมเป็นรถตู้ นน.มากกว่าเก๋ง เหยียบเบรกทีเสียงดังเหมือนเหล็กสีกัน ฟังไม่ดีเลย ถ้าเบรกหมด รถวิ่งลงชันมากๆ เอาไม่อยู่ก็วิ่งเลยลงเหวแน่ๆ ถึงตอนนี้ต้องงัดเอาความรู้เล็กๆน้อยมาใช้กันแล้ว คือทำไงให้ใชัเบรกน้อยที่สุด คำตอบก็คือ ใช้เครื่องยนต์ช่วยเบรก ซึ่งเรื่องนี้เรารู้กันมานานแล้ว แต่เชื่อว่าหลายคนคงไม่ค่อยยอมใช้วิธีนี้ อาจเป็นเพราะว่า มีความเข้าใจน้อยถึงอันตรายจากการขับรถลงเขาแล้วเบรกบ่อยๆ หรือขี้เกียจเปลี่ยนเกียรบ่อยๆเพราะเคยชินกับตอนอยู่ในเมืองที่ขับรถไม่เคยเปลี่ยนเกียร์เลย....ก็มันเป็นเกียร์ auto นี่นา..หรืออีกประเภทหนึ่งคือ ถ้าใช้เครื่องยนต์ช่วยเบรกแล้วเสียงเครื่องมันดังจนน่ากลัวจะพัง เชื่อเถอะ
ตัวผมก็เป็นคนแบบที่ว่านั่นเหมือนกัน แต่มาเจอคราวนี้ผมสัญญากับตัวเองว่า ขึ้นเขาครั้งต่อไปผมจะขยันเปลี่ยนเกียร์ลากเครื่องยนต์แล้วครับ 
    วิธีการใช้เครื่องยนต์ช่วยรักษาเบรกเวลาลงเขาชันก็คือ เปลี่ยนเกียร์ให้ต่ำลงตามความชันครับ เกียร์ไหนก็ต้องสังเกตุเองครับ ลงชันมากก็ต่ำมาก ของผมหลายจุดต้องใช้เกียร์ต่ำสุดแล้วรถยังวิ่งลงแบบเร็วต้องใช้เบรกช่วยเป็นระยะๆ  สิ่งหนึ่งที่ผมไม่ค่อยได้เจอและรู้สึกกลัวอยู่ในใจ ที่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ไม่ค่อยใช้เกียร์ต่ำเวลารถลงเขาก็คือเครื่องยนต์มันดังจนน่ากลัว ดังขนาดไหนหรือครับ..? ก็ลองอยู่ที่บ้านแล้วลองไป สตาร์ทเครื่องยนต์ในโรงจอดรถ ใส่เกียร์ว่างแล้วลองเหยียบคันเร่งให้เร่งสุดจนเครื่องเดินคึง 6-7 พันรอบ ครั้งละนานๆ ต่อเนื่องกันเป็นชั่วโมงดูครับว่าเสียงมันดังและเครื่องมันสั่นขนาดไหน กลัวเครื่องยนต์จะพังหลุดเป็นชิ้นๆละครับ ลงมาถึงพื้นแล้วเจอศูนย์ castral เอารถเข้าเช็ค ช่างห้าคนมารุมดู พอถอดเบรคออกมา ช่างร้องจ๊ากเลย ทุกคนหันมามองหน้า แล้วถามเป็นเสียงเดียวกันว่า นี่รอดมาได้ไงเนียะ...? !! เขาเอาแผ่นเบรคที่ถอดให้ดู มันเหลือแต่แผ่นเหล็ก สีกับจานเบรคจนเหลือบางไม่ถึงครึ่งเซ็น ลองนึกย้อนดู ตลอดทางนี่เราใช้เครื่องยนต์ช่วยขนาดนั้น
ยังเหลือแค่นี้ ถ้าใช้เบรคอย่างเดียวตามพฤติกรรมเดิมๆ จะเหลือเบรคให้ใช้ไหม? โชคดีที่รถ นน.ขนาดนั้น แผ่นเบรคก็ไม่เหลือ เหลือแต่แผ่นเหล็กสีกันอยู่ รถยังไม่ตกเขาพาเรารอดมาได้ต้องยกไปให้โชคช่วยเลยครับ 
      มีคนถามว่าแล้วก่อนออกเดินทาง ทำไมไม่ตรวจ เรื่องนี้ก็ต้องโทษตัวเองครับ คือเคยชินกับรถยุโรปที่ใช้เป็นส่วนตัวอยู่ ก่อนเบรคหมดมันจะเตือน  แต่รถญี่ปุ่นมันไม่มีครับ เลยลืมไปเลยพลาดเรื่องนี้ไป นับว่าเป็นความผิดอย่างมหันต์เลยครับ 
    สิ่งสำคัญที่ได้จากเรื่องนี้ก็คือ ขึ้นเขาและลงเขาที่ชันมากๆ ต้องลดเกียร์ลงครับ ใช้ความเร็วรถในแต่ละกียร์ให้เหมาะสมกับความชันขณะนั้นครับ  ความรู้สึกกับประสบการณ์จะบอกเราเองครับว่าใช้เกียร์อะไร ตอนไหน  ลดเกียร์ขาขึ้น ป้องกันครัช ลดเกียร์ขาลงป้องกันเบรก ใช้เกียร์สูงที่ชันมากครัชจะไหม้ครับ เพราะจะเกิด สลิป(ลื่น) มากครัชจะไหม้ได้ ลดเกียร์ขาลงที่ชันมากๆ จะป้องกันเบรกไหม้ครับ  ครัชไหม้รถวิ่งต่อไปไม่ได้ แต่ถ้าเบรกไหม้มีโอกาสตกเหวตายครับ..แต่ก็ไม่ควรให้มันเป็นอะไรทั้งสองอย่างละครับ ขณะอยู่ไกลบ้านขนาดนั้น...pjmong...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น